การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
๑. บนผิวโลกของเราปกคลุมด้วยน้ำ�เป็นส่วนใหญ่
น้ำ�ของโลกทั้งหมดจะมีน้ำ�เค็มอยู่ประมาณ
๙๗.๕ ส่วน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในมหาสมุทร
และทะเล และที่เหลืออีกประมาณ ๒.๕
ส่วน เป็นน้ำ�จืดในแหล่งต่าง ๆ น้ำ�จืดส่วน
ใหญ่เป็นธารน้ำ�แข็งหรือพืดน้ำ�แข็งที่อยู่ตาม
ขั้วโลก ส่วนน้ำ�จืดที่มนุษย์นำ�มาใช้ ได้แก่
น้ำ�ในทะเลสาบ แม่น้ำ� ลำ�ธาร และน้ำ�ใต้ดิน ซึ่ง
รวมแล้วปริมาณน้ำ�จืดที่นำ�มาใช้ได้น้อยมาก
เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำ�จืดทั้งหมด เราจึงควร
อนุรักษ์แหล่งน้ำ�และใช้น้ำ�อย่างประหยัดเพื่อ
ให้มีน้ำ�ดื่มน้ำ�ใช้ตลอดไป
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล
โดยการนำ�ข้อมูลจากการสืบค้นข้อมูลและ
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำ�ในแหล่ง
ต่าง ๆ ของโลกมาจัดกระทำ�และนำ�เสนอ
ด้านความรู้
๑. เปรียบเทียบปริมาณน้ำ�จืดและน้ำ�เค็ม น้ำ�ในแต่ละ
แหล่ง
๒. ระบุปริมาณน้ำ�ที่มนุษย์สามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ได้
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย
ข้อมูล จากการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลและ
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำ�ในแหล่งน้ำ�ของโลก
มาจัดกระทำ�และนำ�เสนอ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
และช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลได้อย่าง
รวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับแหล่งน้ำ�ของโลก
โดยอาจใช้สถานการณ์ คำ�ถาม หรือสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์
ภาพเคลื่อนไหว หรือข่าวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์น้ำ�ในปัจจุบันของโลก
หรือของประเทศไทย เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูล
๒. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำ�ของโลก จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ หรือใบความรู้ รวบรวมข้อมูล และบันทึกผล
๓. นักเรียนนำ�ข้อมูลมาจัดกระทำ�ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น ตาราง
แผนภูมิแท่ง แผนภูมิรูปภาพ และนำ�เสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
๔. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำ�ในแต่ละแหล่ง
เพื่อลงข้อสรุปว่า น้ำ�ของโลกมีทั้งน้ำ�จืดและน้ำ�เค็ม ซึ่งเป็นน้ำ�เค็มประมาณ
๙๗.๕ ส่วน ส่วนใหญ่อยู่ในมหาสมุทรและทะเล ส่วนที่เหลืออีกประมาณ
๒.๕ ส่วน เป็นน้ำ�จืด น้ำ�จืดส่วนใหญ่เป็นธารน้ำ�แข็งหรือพืดน้ำ�แข็งที่อยู่ตาม
ขั้วโลก ส่วนน้ำ�จืดที่มนุษย์นำ�มาใช้ ได้แก่ น้ำ�ในทะเลสาบ แม่น้ำ� ลำ�ธาร และ
น้ำ�ใต้ดิน ซึ่งรวมแล้วปริมาณน้ำ�จืดที่นำ�มาใช้ได้น้อยมากเมื่อเทียบกับ
ปริมาณน้ำ�จืดทั้งหมด
๕. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามใหม่เกี่ยวกับปริมาณน้ำ�
ที่มนุษย์สามารถนำ�มาใช้ได้ เพื่อนำ�สู่การวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปราย
เกี่ยวกับปริมาณน้ำ�ที่มนุษย์สามารถนำ�มาใช้ได้เพื่อลงข้อสรุปว่า น้ำ�จืด
ที่มนุษย์นำ�มาใช้ได้มีปริมาณน้อยมาก นักเรียนทำ�กิจกรรมและนำ�เสนอ
แนวทางการประหยัดการใช้น้ำ�ในแต่ละครัวเรือน
215
วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ตัวชี้วัด
๓. เปรียบเทียบปริมาณน้ำ�ในแต่ละแหล่งและระบุปริมาณน้ำ�ที่มนุษย์สามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ได้ จากข้อมูลที่รวบรวมได้
๔. ตระหนักถึงคุณค่าของน้ำ�โดยนำ�เสนอแนวทางการใช้น้ำ�อย่างประหยัดและการอนุรักษ์น้ำ�