การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
แรงเสียดทานเป็นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัส
ของวัตถุ เพื่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุไปบน
ผิวสัมผัสนั้น ถ้าออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่นิ่ง
บนพื้นผิวสัมผัสหนึ่งให้เคลื่อนที่ แรงเสียดทาน
จากผิวสัมผัสนั้นก็จะต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ
และสำ�หรับวัตถุที่กำ�ลังเคลื่อนที่ แรงเสียดทานจะ
ทำ�ให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่ง
๑. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส โดยใช้
การซักถาม หรือสื่อต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปสู่แรงเสียดทานซึ่งเป็นแรงสัมผัส
๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับแรงเสียดทาน โดย
อาจใช้การซักถาม ใช้สื่อต่าง ๆ หรือใช้กิจกรรมสาธิต เช่น การออกแรง
ผลักวัตถุที่อยู่บนพื้นฝืดแล้ววัตถุไม่เคลื่อนที่ แต่เมื่อเปลี่ยนผิวสัมผัส แล้ว
ออกแรงกระทำ�อีกครั้ง วัตถุเคลื่อนที่ได้เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเพื่อ
สังเกตแรง เสียดทานที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่นิ่ง
๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยออกแรงดึงวัตถุที่อยู่นิ่ง จนวัตถุเริ่มเคลื่อนที่
ไปบนพื้น สังเกตและอ่านค่าของแรงจากเครื่องชั่งสปริงในขณะที่วัตถุ
ยังคงอยู่นิ่ง บันทึกผล และสรุปผลการทำ�กิจกรรม
๔. นักเรียนนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม ร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐาน
เชิงประจักษ์มาสนับสนุนเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าเมื่อออกแรงกระทำ�กับวัตถุที่
วางอยู่บนพื้น แล้ววัตถุยังคงอยู่นิ่ง แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์
แสดงว่ามีแรงต้านในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงที่มากระทำ�ต่อวัตถุโดยมี
ขนาดเท่ากับแรงที่กระทำ�นั้น
๕. ครูให้ความรู้ว่าแรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุจะมีทิศทางตรงข้ามกับ
ทิศทางที่วัตถุจะเคลื่อนที่ เรียกแรงนี้ว่า แรงเสียดทาน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง
ผิวของวัตถุกับพื้นผิวที่สัมผัสกับวัตถุ
๖. ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ อภิปราย และเขียนแผนภาพของ
แรงเสียดทานและแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุในแนวเดียวกับแรงเสียดทาน
ขณะที่กำ�ลังดึงวัตถุที่อยู่นิ่งบนพื้นและขณะที่กำ�ลังดึงให้วัตถุเริ่มเคลื่อนที่
ด้านความรู้
๑. อธิบายความหมายของแรงเสียดทาน
๒. ระบุผลของแรงเสียดทานที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง
การเคลื่อนที่ของวัตถุ
๓. อธิบายแรงเสียดทานและแรงที่อยู่ในแนวเดียว
กับแรงเสียดทานที่กระทำ�ต่อวัตถุโดยการเขียน
แผนภาพ
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตขนาดของแรง
จากค่าที่อ่านได้บนเครื่องชั่งสปริงและสังเกต
ผลของแรงเสียดทานที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง
การเคลื่อนที่ของวัตถุ
๒. ทักษะการวัด โดยการวัดขนาดของแรงที่
กระทำ�ต่อวัตถุโดยใช้เครื่องชั่งสปริง พร้อม
ระบุหน่วยของแรง
๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย
อภิปรายและ เชื่อมโยงความรู้ ในเ รื่อง
แรงลัพธ์กับการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประ เ มินทักษะกา รสัง เ กต จากกา รบันทึก
รายละเอียดเกี่ยวกับขนาดของแรงจากค่าที่อ่านได้
บนเครื่องชั่งสปริงและผลของแรงเสียดทานที่มีต่อ
การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ ตามความ
เป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว
๒. ประเมินทักษะการวัด จากการวัดขนาดของแรงที่
กระทำ�ต่อกับวัตถุโดยใช้เครื่องชั่งสปริงและการระบุ
หน่วยของแรงได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก
การอภิปรายและเชื่อมโยงความรู้ในเรื่องแรงลัพธ์กับ
200
ตัวชี้วัด
๘. ระบุผลของแรงเสียดทานที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์
๙. เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงที่อยู่ในแนวเดียวกันที่กระทำ�ต่อวัตถุ