Table of Contents Table of Contents
Previous Page  205 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 205 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

สารบา งอย่า ง เ กิดการ เปลี่ยนแปลงที่ผัน

กลับได้ บางอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผัน

กลับไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้เป็น

การเปลี่ยนแปลงที่สารสามารถเปลี่ยนกลับสู่

สารเดิมได้ การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดสารใหม่ซึ่งไม่สามารถ

เปลี่ยนกลับเป็นสารเดิมได้

ด้านความรู้

ระบุการเปลี่ยนแปลงของสารในชีวิตประจำ�วันว่า

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้หรือผันกลับไม่ได้

๑. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสาร เช่น การละลายของ

น้ำ�ตาล การเปลี่ยนสถานะของน้ำ� การเผากระดาษ การเกิดสนิมเหล็ก

โดยอาจใช้การซักถาม หรือสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์ และครู

กระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามว่าการเปลี่ยนแปลงใดบ้าง

ที่สารสามารถคืนสู่สารเดิมได้ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมการวิเคราะห์

การเปลี่ยนแปลงของสารที่ผันกลับได้หรือผันกลับไม่ได้

๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยการสังเกต อภิปรายและวิเคราะห์การ

เปลี่ยนแปลงของสารที่เป็นทั้งการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับ

ไม่ได้ เช่น การตกผลึกเกลือ การต้มไข่ การหลอมช็อกโกแลต การเผา

กระดาษ บันทึกผล สรุปผลและนำ�เสนอ

๓. ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

สนับสนุนซึ่งได้แก่ผลการทำ�กิจกรรมของนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า

การเปลี่ยนแปลงของสารบางอย่างสามารถกลับสู่สารเดิมได้ บางอย่าง

ไม่สามารถกลับสู่สารเดิมได้

๔. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าการเปลี่ยนแปลงของสารที่กลับเป็นสารเดิมได้

เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ และการเปลี่ยนแปลงของสารที่ไม่

สามารถกลับเป็นสารเดิมได้ เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยการ

นำ�ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาอธิบาย

การเปลี่ยนแปลงของสารที่ผันกลับได้และ

ผันกลับไม่ได้

๒. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอ

แล้วอภิปรายร่วมกันเพื่อลงข้อสรุปเรื่อง

การเปลี่ยนแปลงของสารที่ผันกลับได้และ

ผันกลับไม่ได้

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ปร ะ เ มินทักษะกา รล ง คว าม เ ห็นจ ากข้อมูล

จากการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาอธิบาย

การเปลี่ยนแปลงของสารที่ผันกลับได้และผันกลับ

ไม่ได้ได้ถูกต้อง

๒. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอแล้วอภิปราย

ร่วมกันเพื่อลงข้อสรุปเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ

สารที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ ได้ถูกต้องและ

ครบถ้วน

195

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ตัวชี้วัด

๔. วิเคราะห์และระบุการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้