Table of Contents Table of Contents
Previous Page  200 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 200 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๔. ครูใช้ผลการสังเกตซึ่งเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ของนักเรียนทั้งชั้นและ

ใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่าเมื่อทำ�ให้สสาร

ร้อนขึ้น สสารจะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว จากของเหลว

เป็นแก๊ส หรือจากของแข็งเป็นแก๊สโดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว และ

เมื่อทำ�ให้สสารเย็นลง สสารจะเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว

หรือของเหลวเป็นของแข็ง หรือจากแก๊สเป็นของแข็งโดยไม่ผ่านการเป็น

ของเหลว

๕. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการระบุชื่อการเปลี่ยนสถานะจากของแข็ง

เป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส

เรียกว่า การกลายเป็นไอ ซึ่งมีทั้งการเดือดและการระเหย แก๊สเปลี่ยน

สถานะเป็นของเหลว เรียกว่า การควบแน่น ของเหลวเปลี่ยนสถานะ

เป็นของแข็งเรียกว่าการแข็งตัว ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส เรียกว่า

การระเหิด ส่วนแก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกว่า การระเหิดกลับ

๖. นักเรียนสำ�รวจเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการเปลี่ยนสถานะ

ของสสารในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเกิดน้ำ�ค้าง การเกิดฝน การเกิดลูกเห็บ

การตากผ้า การทำ�ไอศกรีม การระเหิดของการบูร จากนั้นร่วมกันวิเคราะห์

การเปลี่ยนสถานะและระบุชื่อการเปลี่ยนสถานะ บันทึกผลและนำ�เสนอ

๗. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและออกแบบวิธีการนำ�เสนอการเปลี่ยน

สถานะของสสารพร้อมระบุชื่อการเปลี่ยนสถานะโดยใช้ซอฟต์แวร์

ประยุกต์

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตลักษณะของ

สสารที่เป็นของแข็ง ของเหลวและแก๊สและ

สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสสารเมื่อทำ�ให้

ร้อนขึ้นหรือเย็นลง บันทึกสิ่งที่สังเกตได้

๒. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซ

กับสเปซและสเปซกับเวลา โดยบรรยายการ

เปลี่ยนแปลงรูปร่างและปริมาตรของสสาร

เมื่อเปลี่ยนสถานะ

๓. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูลโดยนำ�ข้อสรุปการเปลี่ยนสถานะของ

สสารมาเขียนในรูปแบบต่าง ๆ

๔. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยการ

นำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบาย

การเปลี่ยนสถานะของสสาร

๕. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอแล้ว

อภิปรายร่วมกันเพื่อลงข้อสรุปเรื่องการ

เปลี่ยนสถานะของสสาร

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกลักษณะ

ของสสารที่เป็นของแข็ง ของเหลวและแก๊สและ

ผลการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสสารเมื่อทำ�ให้

ร้อนขึ้นหรือเย็นลงตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่ม

ความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซ

กับสเปซและสเปซกับเวลา จากการบรรยายการ

เปลี่ยนแปลงรูปร่างและปริมาตรของสสารเมื่อเกิด

การเปลี่ยนสถานะได้ถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล จากการนำ�ข้อสรุปการเปลี่ยนสถานะของ

สสารมาเขียนในรูปแบบต่าง ๆ ได้ถูกต้องครบถ้วน

และชัดเจน

๔. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จากการ

นำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบายการเปลี่ยน

สถานะต่าง ๆ ของสสารได้ถูกต้อง

๕. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการตีความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอแล้วอภิปราย

ร่วมกันเพื่อลงข้อสรุปเรื่องการเปลี่ยนสถานะของ

สสารได้ถูกต้องและครบถ้วน

190