Table of Contents Table of Contents
Previous Page  202 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 202 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

การละลายของสารในน้ำ�เป็นการเปลี่ยนแปลง

ที่สารอย่างน้อยหนึ่งชนิดผสมเป็นเนื้อเดียวกับ

น้ำ� โดยไม่มีสารใหม่เกิดขึ้นเรียกสารผสมที่ได้ว่า

สารละลาย

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตลักษณะของสาร

เมื่อใส่สารลงในน้ำ� บันทึกสิ่งที่สังเกตได้

๒. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซ

กับสเปซและสเปซกับเวลา โดยบรรยายการ

เปลี่ยนแปลงของสารเมื่อใส่ลงในน้ำ�

๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยการ

นำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบายการ

ละลายของสารในน้ำ�

๔. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอแล้ว

อภิปรายร่วมกันเพื่อลงข้อสรุปเรื่องการ

ละลายของสารในน้ำ�

ด้านความรู้

อธิบายการละลายของสารในน้ำ�

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกลักษณะ

ของสารเมื่อใส่ลงในน้ำ� โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น

ส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซ

กับสเปซและสเปซกับเวลา จากการบรรยายการ

เปลี่ยนแปลงลักษณะของสารเมื่อใส่ลงในน้ำ�ได้

ถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จากการ

นำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบายการละลาย

ของสารในน้ำ�ได้ถูกต้อง

๔. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการตีความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอแล้วอภิปราย

ร่วมกันเพื่อลงข้อสรุปเรื่องการละลายของสารในน้ำ�

ได้ถูกต้องและครบถ้วน

๑. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสสารและ

ตรวจสอบความรู้เดิมเกี่ยวกับการละลายของสารในน้ำ� โดยอาจใช้การ

ซักถาม หรือสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการละลาย

ของสารในน้ำ�โดยอาจใช้คำ�ถาม ใช้การสาธิต หรือสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ

วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมการละลายของสารในน้ำ�

๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้สารทั้งที่ละลายและไม่ละลายในน้ำ� เช่น

แป้งมัน น้ำ�ตาลทราย เกลือแกง แอลกอฮอล์ การบูร สังเกตลักษณะของ

สารก่อนและหลังผสมน้ำ� บันทึกผล สรุปผลและนำ�เสนอ

๔. ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

เช่น ผลการสังเกตของนักเรียนมาสนับสนุนเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าเมื่อใส่

สารลงในน้ำ�แล้ว สารนั้นรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำ�ทั่วทุกส่วนโดยไม่เกิด

สารใหม่ แสดงว่าเกิดการละลาย แต่ถ้าสารไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำ�

แสดงว่าสารนั้นไม่ละลายน้ำ�

๕. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า สารผสมที่ได้จากสารรวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ�

จัดเป็นสารละลาย ส่วนสารผสมที่ได้จากสารไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ�

จัดเป็นสารเนื้อผสม

๖. นักเรียนสำ�รวจการละลายของสารในชีวิตประจำ�วัน เช่น การทำ�น้ำ�หวาน

น้ำ�โซดา แอลกอฮอล์ล้างแผล น้ำ�ส้มสายชู น้ำ�หอมและนำ�เสนอ

๗. ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบผลการนำ�เสนอและแก้ไขให้ถูกต้อง

192

ตัวชี้วัด

๒. อธิบายการละลายของสารในน้ำ� โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์