Table of Contents Table of Contents
Previous Page  113 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 113 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๔. เปรียบเทียบจุดเดือด จุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารผสม โดยการวัดอุณหภูมิ เขียนกราฟ แปลความหมายข้อมูลจากกราฟ หรือสารสนเทศ

ด้านความรู้

สารบริสุทธิ์ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว ส่วน

สารผสมประกอบด้วยสารตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป

สารบริสุทธิ์แต่ละชนิดมีสมบัติบางประการที่เป็น

ค่าเฉพาะตัว เช่น จุดเดือดและจุดหลอมเหลว

ซึ่งมีค่าคงที่ ณ ความดันหนึ่ง ๆ แต่สารผสมมี

จุดเดือดและจุดหลอมเหลวไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับชนิด

และสัดส่วนของสารที่ผสมอยู่ด้วยกัน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการวัด โดยใช้เทอร์มอมิเตอร์วัด

อุณหภูมิของสารบริสุทธิ์และสารผสมระหว่าง

ที่ได้รับความร้อน ที่ช่วงเวลาต่าง ๆ ที่เท่ากัน

๒. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล โดยนำ�ผลการวัดอุณหภูมิที่เวลาต่างๆ

ของสารบริสุทธิ์และสารผสมมาแสดงความ

สัมพันธ์ในรูปของกราฟ

ด้านความรู้

เปรียบเทียบอุณหภูมิขณะเดือดหรือจุดเดือดและ

จุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารผสม

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เทอร์มอมิเตอร์วัด

อุณหภูมิของสารบริสุทธิ์และสารผสมระหว่างที่ได้

รับความร้อน ที่ช่วงเวลาต่าง ๆ ที่เท่ากัน พร้อมระบุ

หน่วยของการวัดอุณหภูมิและเวลาได้อย่างถูกต้อง

และเหมาะสม

๒. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล จากการนำ�ผลการวัดอุณหภูมิที่เวลาต่าง ๆ

ของสารบริสุทธิ์และสารผสมมาแสดงความสัมพันธ์

ในรูปของกราฟได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และ

ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลได้อย่าง

รวดเร็ว และชัดเจน

๑. ครูทบทวนความรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับสารผสมโดยให้นักเรียนยกตัวอย่าง

สารผสม และระบุสารที่เป็นองค์ประกอบของสารผสมนั้น เช่น น้ำ�เกลือ

ประกอบด้วยเกลือผสมกับน้ำ� น้ำ�โคลนประกอบด้วยโคลนผสมกับน้ำ�

๒. ครูตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับสารบริสุทธิ์โดยให้นักเรียน

อธิบายและยกตัวอย่างสารบริสุทธิ์ ครูใช้คำ�ถามให้นักเรียนเปรียบเทียบ

องค์ประกอบของสารบริสุทธิ์และสารผสม เช่น น้ำ�กับน้ำ�เกลือ น้ำ�กับ

น้ำ�โคลน

๓. ครูอธิบายเพิ่มเติมว่าสารที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว เรียกว่า

สารบริสุทธิ์ และให้นักเรียนยกตัวอย่างสารบริสุทธิ์

๔. ครูแสดงตัวอย่างสาร ๓ ชนิด มีหมายเลข ๑ - ๓ ให้นักเรียนสังเกต

ลักษณะที่สังเกตได้โดยไม่ได้บอกให้ทราบว่าสารแต่ละชนิดเป็นสารอะไร

สารตัวอย่างที่ครูนำ�มาแสดงควรประกอบด้วย สารหมายเลข ๑ เป็น

สารผสมที่เห็นสารสองชนิดผสมกันอย่างชัดเจนเช่น น้ำ�กับน้ำ�มัน

สารหมายเลข ๒ เป็นสารบริสุทธิ์ เช่น น้ำ� และสารหมายเลข ๓ เป็นสาร

ผสมที่ไม่สามารถเห็นสารสองชนิดผสมกัน เช่น สารละลายเอทานอล

ครูใช้คำ�ถามให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าสารหมายเลขใดเป็นสารบริสุทธิ์ และ

สารหมายเลขใดเป็นสารผสม พร้อมให้เหตุผล

๕. ครูร่วมกับนักเรียนอภิปรายผลการวิเคราะห์เพื่อลงข้อสรุปว่าสารบาง

ชนิดเมื่อสังเกตจากลักษณะภายนอกสามารถระบุได้ว่าเป็นสารผสม เช่น

สารหมายเลข ๑ เพราะเห็นชัดเจนว่ามีสารต่างชนิดแยกส่วนจากกัน

ส่วนสารบางชนิดไม่สามารถระบุได้ทันทีว่าเป็นบริสุทธิ์หรือสารผสม เช่น

สารหมายเลข ๒ สารหมายเลข ๓ เนื่องจากไม่มีการแยกส่วนกันของสาร

103

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑