Table of Contents Table of Contents
Previous Page  115 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 115 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๕. อธิบายและเปรียบเทียบความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม

๖. ใช้เครื่องมือเพื่อวัดมวลและปริมาตรของสารบริสุทธิ์และสารผสม

ด้านความรู้

สารบริสุทธิ์แต่ละชนิดมีความหนาแน่น หรือมวล

ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรคงที่ เป็นค่าเฉพาะของ

สารนั้น ณ สถานะและอุณหภูมิหนึ่ง ๆ แต่สาร

ผสมมีความหนาแน่นไม่คงที่ขึ้นอยู่กับชนิดและ

สัดส่วนของสารที่ผสมอยู่ด้วยกัน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการวัด โดยวัดมวลและปริมาตรของ

สารบริสุทธิ์และสารผสมชนิดต่าง ๆ

๒. ทักษะการใช้จำ�นวน โดยใช้มวลและปริมาตร

ของสารบริสุทธิ์และสารผสมชนิดต่าง ๆ ที่

ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมมาคำ�นวณความ

หนาแน่นหรืออัตราส่วนระหว่างค่ามวล

และปริมาตรของสารและระบุหน่วยความ

หนาแน่น

๓. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการนำ�ค่าความหนาแน่นของสารที่

คำ�นวณได้จากกิจกรรม มาตีความหมาย

ข้อมูลและลงข้อสรุปเกี่ยวกับความหมาย

ด้านความรู้

อธิบายและเปรียบเทียบความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์

และสารผสม

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เครื่องชั่งวัดมวล

และการใช้กระบอกตวงวัดปริมาตรของสารบริสุทธิ์

และสารผสมชนิดต่างๆ พร้อมระบุหน่วยของการวัด

ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

๒. ประเมินทักษะการใช้จำ�นวน จากผลการคำ�นวณ

ความหนาแน่นหรืออัตราส่วนระหว่างมวลกับ

ปริมาตรของสารบริสุทธิ์และสารผสมชนิดต่าง ๆ

และระบุหน่วยได้อย่างถูกต้อง

๓. ประ เ มินทักษะการตีความหมายข้อมูลและ

ลงข้อสรุป จากการนำ�ค่าความหนาแน่นของสาร

ที่คำ�นวณได้จากกิจกรรมมาตีความหมายข้อมูล

และลงข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายความหนาแน่น

๑. ครูตรวจสอบและทบทวนความรู้เกี่ยวกับสมบัติของสารบริสุทธิ์และ

สารผสม เช่น จุดเดือดและจุดหลอมเหลว โดยใช้การซักถาม และกระตุ้น

นักเรียนให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และ

สารผสมเพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติกิจกรรม

๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยหามวลของสาร เช่น ดินน้ำ�มัน น้ำ�มันพืช

โดยใช้เครื่องชั่งและหาปริมาตรของสารด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น

ถ้วยยูรีกา กระบอกตวง บันทึกมวลและปริมาตรในตารางบันทึกผล อ่าน

ใบความรู้ความหมายและวิธีการคำ�นวณความหนาแน่นของสาร นักเรียน

นำ�ข้อมูลจากการวัดมวลและปริมาตรมาคำ�นวณความหนาแน่นของ

ดินน้ำ�มัน และนำ�เสนอ

๓. ครูรวบรวมข้อมูลของนักเรียนทั้งชั้นเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและ

ลงข้อสรุปว่าความหนาแน่นคืออัตราส่วนระหว่างมวลต่อปริมาตรของสาร

มีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

๔. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเพื่อวัดมวลและปริมาตร และคำ�นวณความหนา

แน่นของสารบริสุทธิ์ เช่น เหล็ก ทองแดง และสารผสมต่างๆ เช่น น้ำ�เกลือ

ที่มีอัตราส่วนของน้ำ�และเกลือต่างกัน น้ำ�เชื่อมที่มีอัตราส่วนของน้ำ�และ

น้ำ�ตาลต่างกัน บันทึกผล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และนำ�เสนอ

๕. ครูรวบรวมข้อมูลของทั้งชั้นเรียนและใช้คำ�ถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

และลงข้อสรุปว่า ความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์แต่ละชนิดคงที่ แต่ความ

หนาแน่นของสารผสมไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับชนิดและสัดส่วนของสารที่ผสมอยู่

ด้วยกัน

105

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑