Table of Contents Table of Contents
Previous Page  108 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 108 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตสมบัติทาง

กายภาพของธาตุ เช่น สถานะ การนำ�

ความร้อน การนำ�ไฟฟ้า ความเหนียว ความ

มันวาว และบันทึกสิ่งที่สังเกตได้

๒. ทักษะการจำ�แนกประเภท โดยใช้ข้อมูลจาก

การสังเกต การทดสอบและการสืบค้นข้อมูล

สมบัติทางกายภาพของธาตุเพื่อจำ�แนกและ

จัดกลุ่มธาตุ เป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ

๓. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล โดยนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

การทดสอบและการสืบค้นสมบัติทาง

กายภาพของธาตุและผลการจัดกลุ่มธาตุ

เป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ มานำ�เสนอใน

รูปแบบต่าง ๆ

๔. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายข้อมูลจากการสังเกต

การทดสอบและการสืบค้นสมบัติทาง

กายภาพของธาตุ และลงข้อสรุปเกี่ยวกับ

การจัดกลุ่มของธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และ

กึ่งโลหะ และสมบัติทางกายภาพของธาตุ

แต่ละกลุ่ม

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกสมบัติ

ทางกายภาพที่สังเกตได้ของธาตุ เช่น สถานะ

การนำ�ความร้อน การนำ�ไฟฟ้า ความเหนียว

ความมันวาวได้ โดยบันทึกได้ครบถ้วน ตามความ

เป็นจริง ไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการจำ�แนกประเภท จากผลการ

จัดกลุ่มธาตุ เป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ โดยใช้

สมบัติทางกายภาพของธาตุเป็นเกณฑ์ ได้ถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล จากการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและ

การสืบค้นสมบัติทางกายภาพของธาตุและผล

การจัดกลุ่มธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ

มานำ�เสนอในสื่อรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

และช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่นำ�เสนอได้อย่างรวดเร็ว

ชัดเจน

๔. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลง

ข้อสรุป จากการตีความหมายข้อมูลจากการสังเกต

การทดสอบและการสืบค้นสมบัติทางกายภาพของ

ธาตุและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดกลุ่มธาตุเป็นโลหะ

อโลหะ และกึ่งโลหะ และสรุปสมบัติทางกายภาพ

ของธาตุแต่ละกลุ่มได้อย่างถูกต้อง

๔. ครูมอบหมายให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับสมบัติของ

ธาตุเพิ่มเติมจากการปฏิบัติกิจกรรม เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความ

หนาแน่น รวมทั้งสืบค้นข้อมูลสมบัติทางกายภาพของธาตุอื่นๆ นอกเหนือ

จากที่ปฏิบัติกิจกรรม เช่น ปรอท โซเดียม ตะกั่ว แกรไฟต์ ฟอสฟอรัส

โบรมีน ออกซิเจน คลอรีน และสืบค้นข้อมูลประเภทของธาตุดังกล่าว

บันทึกผลการสืบค้น

๕. นักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและทดสอบ เพื่อให้ได้หลักฐาน

เชิงประจักษ์ และเชื่อมโยงกับข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นเพื่อจัดกลุ่มธาตุ

ตามสมบัติทางกายภาพ นำ�เสนอผลจากการจัดกลุ่มธาตุในรูปแบบต่าง ๆ

โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

๖. ครูรวบรวมข้อมูลทั้งชั้นเรียนและใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกัน

อภิปรายผลการปฏิบัติกิจกรรมและลงข้อสรุปการจัดกลุ่มธาตุเป็นโลหะ

และอโลหะ โดยใช้สมบัติทางกายภาพของธาตุเป็นเกณฑ์ว่า ธาตุโลหะ

มีสถานะของแข็งยกเว้นปรอท จุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงยกเว้นปรอท

มีผิวมันวาว นำ�ความร้อนและนำ�ไฟฟ้าดี เหนียวสามารถดึงเป็นเส้นหรือ

ตีเป็นแผ่นบาง ๆ ได้ และมีความหนาแน่นทั้งสูงและต่ำ� ธาตุอโลหะมี

สถานะของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ�ยกเว้น

คาร์บอน มีผิวไม่มันวาว ไม่นำ�ความร้อนและไม่นำ�ไฟฟ้ายกเว้นคาร์บอน

(แกรไฟต์) เปราะแตกหักง่าย และมีความหนาแน่นต่ำ�

98