Table of Contents Table of Contents
Previous Page  107 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 107 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

ธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวและมีสมบัติ

ทางกายภาพบางประการเหมือนกันและบาง

ประการต่างกัน ซึ่งสามารถนำ�มาจัดกลุ่มธาตุเป็น

โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ธาตุโลหะมีจุดเดือด

จุดหลอมเหลวสูง มีผิวมันวาว นำ�ความร้อน

นำ�ไฟฟ้า ดึงเป็นเส้นหรือตีเป็นแผ่นบางๆ ได้ และมี

ความหนาแน่นทั้งสูงและต่ำ� ธาตุอโลหะ มีจุดเดือด

จุดหลอมเหลวต่ำ� มีผิวไม่มันวาว ไม่นำ�ความร้อน

ไม่นำ�ไฟฟ้า เปราะแตกหักง่าย และมีความ

หนาแน่นต่ำ� ธาตุกึ่งโลหะมีสมบัติบางประการ

เหมือนโลหะ และสมบัติบางประการเหมือนอโลหะ

ด้านความรู้

๑. อธิบายสมบัติทางกายภาพบางประการของธาตุโลหะ

อโลหะ และกึ่งโลหะ

๒. ระบุธาตุว่าเป็นโลหะ อโลหะ หรือกึ่งโลหะ โดยใช้

สมบัติทางกายภาพบางประการของธาตุ

๑. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธาตุและสำ�รวจความรู้เดิมเกี่ยวกับ

ธาตุโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ โดยใช้วิธีซักถามหรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น

ภาพ และตัวอย่างธาตุในชีวิตประจำ�วัน

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการจัดกลุ่ม

ธาตุโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ โดยใช้สมบัติทางกายภาพเป็นเกณฑ์

เพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติกิจกรรม

๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยสังเกตหรือทดสอบสมบัติทางกายภาพ เช่น

สถานะ การนำ�ความร้อน การนำ�ไฟฟ้า ความเหนียว ความมันวาวของ

ธาตุต่าง ๆ เช่น สังกะสี ทองแดง เหล็ก แมกนีเซียม คาร์บอน (ถ่านไม้)

กำ�มะถัน จากนั้นบันทึกผล

97

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ

มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง

อนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำ�วัน ผลของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว ๒.๓ เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำ�วัน

ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด

๑. อธิบายสมบัติทางกายภาพบางประการของธาตุโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสังเกตและการทดสอบ

และใช้สารสนเทศที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งจัดกลุ่มธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ