การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
๓. ทักษะด้านการสื่อสาร โดยการนำ�เสนอข้อมูล
เกี่ยวกับอุณหภูมิอากาศในรอบวัน
๔. ทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน
เป็นทีม โดยร่วมกัน สังเกต ตรวจวัด
จัดกระทำ�ข้อมูล นำ�เสนอ อภิปรายและลง
ข้อสรุปเกี่ยวกับอุณหภูมิอากาศในเวลาต่างๆ
ภายในรอบวัน
ด้านความรู้
๑. ความกดอากาศ หรือความดันอากาศ เป็นแรง
ที่อากาศกระทำ�ต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
๒. ในระบบปิด เมื่อโมเลกุลของอากาศได้รับ
พ ลั ง ง า น ค ว า ม ร้ อ น จ ะ เ ค ลื่ อ น ที่ ด้ ว ย
ความเร็วสูงทุกทิศทาง และชนผนังระบบ
มากขึ้น จึงทำ�ให้ความกดอากาศภายใน
ระบบสูงกว่าภายนอก แต่ในระบบเปิด เช่น
พื้นผิวโลกที่เปิดโล่ง ณ ระดับความสูงเดียวกัน
บริเวณที่มีอุณหภูมิอากาศสูง โมเลกุลของ
อากาศจะเคลื่อนที่ออกจากกันทุกทิศทางด้วย
ความเร็วสูง จึงมีโอกาสชนพื้นผิวโลกน้อยลง
ทำ�ให้ความกดอากาศต่อพื้นผิวโลกบริเวณนั้น
ต่ำ�กว่าบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ�กว่า
๓. ประเมินทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำ�เสนอ
ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิอากาศในรอบวันเพื่อให้
ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง
๔. ประเมินทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน
เป็นทีม จากการ สังเกต ตรวจวัด จัดกระทำ�ข้อมูล
นำ�เสนออภิปราย และลงข้อสรุปเกี่ยวกับอุณหภูมิ
อากาศในเวลาต่าง ๆ ภายในรอบวัน ร่วมกับผู้อื่น
ตั้งแต่เริ่มต้นจนสำ�เร็จลุล่วง
ด้านความรู้
๑. อธิบายความดันอากาศ หรือความกดอากาศ
๒. อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความ
กดอากาศ
ความกดอากาศและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศ
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับความดันอากาศ
หรือความกดอากาศ โดยอาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่าง ๆ
เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์ หรือภาพเคลื่อนไหวจากนั้น นักเรียนร่วมกัน
อภิปรายจากความรู้ที่เรียนมาแล้วเกี่ยวกับความหมายของความดันอากาศ
หรือความกดอากาศ ว่าเป็นแรงที่อากาศกระทำ�ต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
๒. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายก่อนทำ�กิจกรรมการทดลองและ
ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ
และลงมือปฏิบัติ เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ความดันอากาศ เมื่อเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในระบบปิด เช่น ความดันอากาศ
ภายในลูกโป่ง ที่แช่ในน้ำ�ร้อนและเย็น และบันทึกผล
137
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑