Table of Contents Table of Contents
Previous Page  145 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 145 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๒. อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ จากข้อมูลที่รวบรวมได้

ด้านความรู้

๑. ลมฟ้าอากาศเป็นสภาวะของอากาศใน

เวลาหนึ่งของพื้นที่หนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง

ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของ

ลมฟ้าอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ

ความกดอากาศ อัตราเร็วและทิศทางลม

ความชื้น เมฆ และหยาดน้ำ�ฟ้า โดย

หยาดน้ำ�ฟ้าที่พบมากในประเทศไทย คือ ฝน

องค์ประกอบลมฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงได้

ขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ

๒. อุณหภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงตลอด

เวลาภายในรอบวัน โดยอุณหภูมิจะต่ำ�สุด

ในช่วงเช้ามืด และสูงขึ้นเรื่อยๆ จนสูงสุดใน

ช่วงบ่าย และลดต่ำ�ลงอีกครั้ง ซึ่งมีผลต่อ

การดำ�รงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ปัจ จั ยที่ส่ ง ผลต่อ อุณหภูมิอ า ก า ศคือ

ปริมาณรังสีที่ได้รับจากดวงอาทิตย์และ

สภาพแวดล้อมของพื้นที่

ด้านความรู้

๑. ร ะ บุ อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ล ม ฟ้ า อ า ก า ศ ไ ด้ แ ก่

อุณหภูมิอากาศ ความกดอากาศ อัตราเร็วและ

ทิศทางลม ความชื้น เมฆ และหยาดน้ำ�ฟ้า

๒. อธิบายการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศภายในเวลา

รอบวัน

๓. อ ธิ บ า ย ปั จ จั ย ที่ มี ผ ล ต่ อ ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง

อุณหภูมิอากาศในรอบวัน

องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง

อุณหภูมิอากาศในรอบวัน

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ

โดยอาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์

หรือภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของ

ลมฟ้าอากาศ และปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ

จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ

๒. นักเรียนรวบรวมข้อมูลจากการสืบค้น ร่วมกันอภิปราย เพื่อลงข้อสรุปว่า

ลมฟ้าอากาศเป็นสภาวะของอากาศในเวลาหนึ่งของพื้นที่หนึ่งที่มีการ

เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับองค์ประกอบลมฟ้าอากาศ ได้แก่

อุณหภูมิอากาศ ความกดอากาศ อัตราเร็วและทิศทางลม ความชื้นสัมพัทธ์

เมฆ และหยาดน้ำ�ฟ้า องค์ประกอบลมฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงได้ขึ้น

กับปัจจัยต่าง ๆ

๓. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศใน

รอบวัน เพื่อนำ�ไปสู่การสำ�รวจโดยการสังเกตและตรวจวัดอุณหภูมิอากาศ

เพื่อให้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในเวลาต่าง ๆ เช่น

ทุก ๑ ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. รวมทั้งอุณหภูมิสูงสุด และ

ต่ำ�สุดของวัน บันทึกผล

135

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑