Table of Contents Table of Contents
Previous Page  259 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 259 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๖. อธิบายลักษณะของชั้นหน้าตัดดินและกระบวนการเกิดดินจากแบบจำ�ลอง รวมทั้งระบุปัจจัยที่ทำ�ให้ดินมีลักษณะและสมบัติแตกต่างกัน

ด้านความรู้

๑. ชั้นดินแบ่งออกเป็นหลายชั้นที่ขนานหรือ

เกือบขนานกับผิวหน้าดิน ชั้นดินที่มีลักษณะ

ปรากฏให้เห็นเรียงลำ�ดับเป็นชั้นตาม

แนวดิ่ง เรียกว่า ชั้นหน้าตัดดินหรือหน้าตัด

ข้างของดิน (soil profile) โดยชั้นดินแต่ละ

ชั้นมีลักษณะแตกต่างกันเนื่องจากสมบัติทาง

กายภาพ เคมี ชีวภาพ และลักษณะอื่นๆ เช่น

สี โครงสร้าง เนื้อดิน การยึดตัว ความเป็น

กรด-เบส

๒. ดินเกิดจากหินที่ผุพังจากการกระทำ�ของ

ตัวกลางต่างๆ ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ

และทับถมบนผิวโลก

๓. ปัจจัยที่ทำ�ให้ดินแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะและ

สมบัติแตกต่างกัน ได้แก่ วัตถุต้นกำ�เนิดดิน

ภูมิอากาศ สิ่งมีชีวิตในดิน สภาพภูมิประเทศ

และระยะเวลาในการเกิดดิน

ด้านความรู้

๑. อธิบายลักษณะหน้าตัดข้างของดิน

๒. อธิบายกระบวนการเกิดดิน

๓. ระบุและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำ�ให้ดินมีลักษณะ

และสมบัติแตกต่างกัน

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับลักษณะ

หน้าตัดข้างของดิน โดยอาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่าง ๆ

เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำ�ไปสู่การสังเกตลักษณะ

หน้าตัดข้างของดิน

๒. นักเรียนสังเกตหน้าตัดข้างของดิน จากตัวอย่างในพื้นที่จริงหรือจาก

แบบจำ�ลอง บันทึกและเขียนแผนภาพหน้าตัดข้างของดินที่ได้

๓. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะหน้าตัดข้างของดิน และการแบ่ง

ชั้นดินจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือได้ เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ

เป็นต้น จากนั้นนำ�ข้อมูลมาจัดกระทำ�และนำ�เสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย

๔. นักเรียนเปรียบเทียบลักษณะหน้าตัดข้างของดินและการแบ่งชั้นดิน

จากภาพที่เขียนไว้กับข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น จากนั้นให้นำ�เสนอและ

ร่วมกันอภิปราย เพื่อลงข้อสรุปว่าหน้าตัดข้างของดินเป็นชั้นดินที่

มีลักษณะปรากฏให้เห็นเรียงลำ�ดับเป็นชั้นจากผิวหน้าดินลงไปใน

แนวดิ่ง ชั้นดินแบ่งออกเป็นหลายชั้น ขนานหรือเกือบขนานกับผิวหน้าดิน

แต่ละชั้นมีลักษณะแตกต่างกันเนื่องจากสมบัติทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ

และลักษณะอื่นๆ เช่น สี โครงสร้าง เนื้อดิน การยึดตัว ความเป็นกรด-เบส

๕. ครูกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับกระบวนการเกิดดิน โดยใช้

วิธีการต่าง ๆ เช่น สังเกตจากภาพหน้าตัดข้างของดิน จากนั้นสนทนา

ซักถาม เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเกิดดิน และ

ปัจจัยที่ทำ�ให้ดินแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะและสมบัติแตกต่างกัน

249

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒