การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
๒. ทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำ�เสนอผล
เกี่ยวกับปัจจัยและกระบวนการที่ส่งผลให้หิน
เกิดการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพและทางเคมี
๓. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการ
วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำ�ลอง เพื่อใช้ในการ
อธิบายการผุพังอยู่กับที่ของหินในธรรมชาติ
๔. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร โดยการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัย
และกระบวนการที่ส่งผลให้หินเกิดการผุพัง
อยู่กับที่
ด้านความรู้
๑. การกร่อน คือ การพังทลายและการเคลื่อนย้าย
มวลออกจากตำ�แหน่งเดิมโดยตัวการต่าง ๆ
เช่น ลม น้ำ� ธารน้ำ�แข็ง แรงโน้มถ่วงของโลก
๒. การสะสมตัวของตะกอน คือ การที่ตะกอน
จากการผุพังอยู่กับที่หรือจากการกร่อนถูก
นำ�พาไปสะสมตัวตามแหล่งสะสมตัวของ
ตะกอน
๒. ประเมินทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำ�เสนอผล
เกี่ยวกับปัจจัยและกระบวนการที่ส่งผลให้หินเกิด
การผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพและทางเคมี เพื่อให้
ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง
๓. ประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณจากการ
วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำ�ลองเพื่อใช้ในการอธิบาย
การผุพังอยู่กับที่ของหินในธรรมชาติได้อย่างสมเหตุ
สมผล
๔. ประเมินทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร จากการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ
ปัจจัยและกระบวนการที่ส่งผลให้หินเกิดการผุพัง
อยู่กับที่ จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และมีการอ้างอิง
แหล่งข้อมูลที่สืบค้น
ด้านความรู้
๑. อธิบายการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอน
๒. ยกตัวอย่างผลของการกร่อนและการสะสมตัวของ
ตะกอนที่ทำ�ให้ผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย และตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการกร่อน
การนำ�พา และการสะสมตัวของตะกอน โดยอาจใช้สถานการณ์ หรือ
คำ�ถาม หรือสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ที่แสดงให้เห็น
ผิวโลกในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการกร่อน การนำ�พา และการ
สะสมตัวของตะกอน เช่น เนินตะกอน (น้ำ�พา) รูปพัด ทางน้ำ�โค้งตวัด
ทะเลสาบรูปแอก จากนั้นจึงชักชวนนักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้
คำ�ถามต่าง ๆ เช่น
- ผิวโลกที่สังเกตมีลักษณะอย่างไร
- ผิวโลกมีลักษณะดังที่สังเกตได้อย่างไร
246