Table of Contents Table of Contents
Previous Page  257 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 257 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๓. ก า ร ก ร่ อ น ทำ � ใ ห้ ผิ ว โ ล ก เ กิ ด เ ป็ น

ภูมิลักษณะต่าง ๆ เช่น ที่แพะเมืองผี ผาช่อ

เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการนำ�พาตะกอน

ที่เกิดจากการกร่อน ไปสะสมตัว ณ แหล่ง

สะสมตะกอน ทำ�ให้เกิดภูมิลักษณะต่าง ๆ

เช่น เนินตะกอน (น้ำ�พา) รูปพัด ทางน้ำ�

โค้งตวัด ทะเลสาบรูปแอก หาดทราย

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกข้อมูล

เกี่ยวกับเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแบบจำ�ลองได้ครบ

ถ้วน ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล

จากการเขียนผังมโนทัศน์ ที่อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับ

การกร่อน และการสะสมตัวของตะกอนได้อย่างถูกต้อง

เหมาะสม และช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูล

ได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การอธิบายผลของข้อมูลที่ได้จากแบบจำ�ลองมาลง

ความเห็นเกี่ยวกับการกร่อน การนำ�พาและการสะสม

ตัวของตะกอนที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ได้อย่างสมเหตุ

สมผล

๔. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปเกี่ยวกับ

การกร่อน การนำ�พา และการสะสมตัวของตะกอนที่

เกิดขึ้นในธรรมชาติได้อย่างถูกต้อง

๒. ครูให้นักเรียนสร้างแบบจำ�ลอง เพื่อแสดงการกร่อน การนำ�พา และ

การสะสมตัวของตะกอน ตามวิธีการที่ครูกำ�หนดให้ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์

เช่น ทรายละเอียด ทรายหยาบ กรวด ดินเหนียว หรือดินน้ำ�มัน มาสร้าง

ภูมิประเทศจำ�ลองและจำ�ลองทางน้ำ� และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของ

ทางน้ำ�และภูมิลักษณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากแบบจำ�ลอง

๓. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย เพื่อลงข้อสรุปว่า การกร่อน การนำ�พา

และการสะสมตัวของตะกอนที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ มีน้ำ�เป็นปัจจัยหนึ่ง

ที่ทำ�ให้เกิดการกร่อนและการนำ�พาตะกอนไปสะสมตัวตามแหล่งสะสม

ตะกอนต่างๆ ทำ�ให้ผิวโลกเกิดเป็นภูมิลักษณ์ต่างๆ เช่นเนินตะกอน (น้ำ�

พา) รูปพัด ทางน้ำ�โค้งตวัด เป็นต้น

๔. ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม เรื่องการกร่อน การนำ�พา และ

การสะสมตัวของตะกอน รวมทั้งผลของกระบวนการดังกล่าวที่ทำ�ให้

ผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ จากนั้น

เปรียบเทียบสิ่งที่สืบค้นได้กับความรู้ที่ได้จากแบบจำ�ลอง

๕. ครูให้นักเรียนเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับการกร่อน การนำ�พา และ

การสะสมตัวของตะกอน โดยใช้เทคโนโลยีในการสร้างและการนำ�เสนอ

ผังมโนทัศน์

๖. นักเรียนนำ�เสนอผลงาน และร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุป ดังนี้

- การกร่อน คือ การพังทลายและการนำ�พาเคลื่อนย้ายมวลออกจาก

ตำ�แหน่งเดิมโดยปัจจัยทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ลม น้ำ� ธารน้ำ�แข็ง

และแรงโน้มถ่วงของโลก

- การสะสมตัวของตะกอน คือ การที่ตะกอนจากการผุพังอยู่กับที่หรือ

การกร่อน ถูกนำ�พาไปรวมตัวกันตามแหล่งต่าง ๆ

๗. การกร่อน การนำ�พา และการสะสมตัวของตะกอนทำ�ให้ผิวโลกเกิด

การเปลี่ยนแปลงในลักษณะต่าง ๆ เช่น เนินตะกอน (น้ำ�พา) รูปพัด

ทางน้ำ�โค้งตวัด ทะเลสาบรูปแอก เป็นต้น

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตการ

เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแบบจำ�ลอง

๒. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล โดยการนำ�ผลจากการศึกษาเรื่อง

การกร่อน การนำ�พาและการสะสมตัวของ

ตะกอนมาจัดทำ�เป็นผังมโนทัศน์

๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย

เชื่อมโยงการลงความเห็นจากข้อมูล ได้แก่

การนำ�ข้อมูลเชิงประจักษ์จากแบบจำ�ลอง

ไปเชื่อมโยง การกร่อน การนำ�พาและการ

สะสมตัวของตะกอนที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ

๔. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อ

สรุป โดยการตีความหมายข้อมูลที่ได้จาก

การสังเกตเพื่อลงข้อสรุปเกี่ยวกับการกร่อน

การนำ�พา และการสะสมตัวของตะกอนที่

เกิดขึ้นในธรรมชาติ

247

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒