Table of Contents Table of Contents
Previous Page  263 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 263 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตเนื้อดิน สีดิน

๒. ทักษะการวัด เกี่ยวกับสีดิน ค่าความเป็น

กรด-เบส มวลของดิน โดยบอกค่าและระบุ

หน่วยของการวัด

๓. ทักษะการใช้จำ�นวน โดยการนำ�มวลของดิน

เปียกและดินแห้ง มาคำ�นวณหาค่าความชื้น

ในดิน

๔. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล มีการจัดกระทำ�ข้อมูลที่ได้จากการ

ตรวจวัดสมบัติบางประการของดินในรูป

ของตาราง

๕. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย

ใช้ข้อมูลการปรับปรุงดินตามโครงการ

พระราชดำ�ริ มาปรับปรุงดินในท้องถิ่นเพื่อ

การใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม

๖. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดสมบัติ

บางประการของดิน มาลงข้อสรุปเกี่ยวกับ

ความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ดิน

๔. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของดินในท้องถิ่น จากนั้น

ให้นักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดสมบัติบางประการของ

ดิน เพื่อลงความเห็นถึงความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ดินในท้องถิ่น

และนำ�เสนอผล จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นการปรับปรุงดินตามโครงการ

พระราชดำ�ริ เพื่อใช้แนวทางตามโครงการพระราชดำ�ริ มาปรับปรุงดินใน

ท้องถิ่น

๕. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์ดิน

เพื่อลงข้อสรุปว่ามนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากดินได้โดยพิจารณาจาก

สมบัติของดินนั้น และหากดินมีลักษณะหรือสมบัติไม่เหมาะสมกับการใช้

ประโยชน์ อาจตัดสินใจเปลี่ยนแนวทางการใช้ประโยชน์ หรือหาแนวทาง

การปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์นั้น

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะสังเกต จากการสังเกตเนื้อดิน สีดิน

ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการวัด จากการวัดสีดิน ค่าความ

เป็นกรด-เบส มวลของดิน โดยบอกค่าและระบุ

หน่วยของการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

๓. ประเมินทักษะการใช้จำ�นวน จากการคำ�นวณ

ค่าความชื้นในดินได้ถูกต้อง

๔. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล จากการจัดกระทำ�และนำ�เสนอข้อมูลการ

ตรวจวัดสมบัติบางประการของดินได้อย่างถูกต้อง

และเหมาะสม และช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย

ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง

๕. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การอธิบายแนวคิดในการปรับปรุงดินในท้องถิ่นเพื่อ

การใช้ประโยชน์ ได้อย่างสมเหตุสมผล

๖. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

ในการนำ�ข้อมูลการตรวจวัดสมบัติบางประการของ

ดิน มาลงข้อสรุปเกี่ยวกับความเหมาะสมของการใช้

ประโยชน์ดินได้อย่างถูกต้อง

253

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒