การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวข้องกับการเกิด
ฝน หิมะ ลูกเห็บ โดยอาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่างๆ เช่น
รูปภาพ วีดิทัศน์ และภาพเคลื่อนไหวของฝน หิมะ ลูกเห็บ เพื่อนำ�ไปสู่
การสืบค้นข้อมูล
๒. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเกิดฝน หิมะ ลูกเห็บ จาก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ หรือใบความรู้
รวบรวมข้อมูล และบันทึกผล
๓. นักเรียนนำ�ข้อมูลมาจัดกระทำ�ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น ตาราง
แผนภาพ และนำ�เสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
๔. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง
ของกระบวนการเกิดฝน หิมะ ลูกเห็บ เพื่อลงข้อสรุปว่า ฝน หิมะ
ลูกเห็บ เป็นนํ้าที่มีสถานะแตกต่างกันที่ตกจากฟ้าถึงพื้นดิน ฝน เกิดจาก
ละอองน้ำ�ในเมฆที่รวมตัวกันจนอากาศไม่สามารถพยุงไว้ได้จึงตกลงมา
หิมะเกิดจากไอน้ำ�ในอากาศระเหิดกลับเป็นผลึกน้ำ�แข็ง รวมตัวกันจนมี
น้ำ�หนักมากขึ้น จนเกินกว่าอากาศจะพยุงไว้ จึงตกลงมา ลูกเห็บเกิดจาก
หยดน้ำ�ที่เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำ�แข็งแล้วถูกพายุพัดวนซ้ำ�ไปซ้ำ�มาใน
เมฆฝนฟ้าคะนองที่มีขนาดใหญ่และอยู่ในระดับสูงจนเป็นก้อนน้ำ�แข็ง
ขนาดใหญ่แล้วตกลงมา
ด้านความรู้
ฝน หิมะ ลูกเห็บ เป็นนํ้าที่มีสถานะต่าง ๆ ที่ตก
จากท้องฟ้าถึงพื้นดิน ฝน เกิดจากละอองน้ำ�
ในเมฆที่รวมตัวกันมีอนุภาคใหญ่ขึ้นจนอากาศ
ไม่สามารถพยุงไว้ได้จึงตกลงมาเป็นหยดน้ำ�
หิมะเกิดจากไอน้ำ�ในอากาศระเหิดกลับหรือ
เปลี่ยนแปลงสถานะจากไอน้ำ�เป็นของแข็งจึงมี
รูปร่างเป็นผลึก รวมตัวกันจนมีน้ำ�หนักมากขึ้น
เกินกว่าอากาศจะพยุงไว้ได้ จึงตกลงมาใน
รูปของผลึกน้ำ�แข็ง ลูกเห็บเกิดจากหยดน้ำ�ที่
เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำ�แข็งเมื่อถูกพายุพัดขึ้นไป
ในบรรยากาศบริเวณซึ่งอุณหภูมิต่ำ�มากและถูก
พัดพาวนขึ้นลงจนเป็นก้อนน้ำ�แข็งขนาดใหญ่
แล้วตกลงมาสู่พื้นดิน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย
ข้อมูล โดยการนำ�ผลการสืบค้นและรวบรวม
ข้อมูลการเกิดฝน หิมะ ลูกเห็บมาจัดกระทำ�
และนำ�เสนอ
ด้านความรู้
เปรียบเทียบกระบวนการเกิดฝน หิมะ ลูกเห็บ
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล
จากการนำ�ผลการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลการเกิดฝน
หิมะ ลูกเห็บ มาจัดกระทำ�และนำ�เสนอได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม และช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูล
ได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง
222
ตัวชี้วัด
๗. เปรียบเทียบกระบวนการเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ จากข้อมูลที่รวบรวมได้