Table of Contents Table of Contents
Previous Page  90 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 90 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

๑. วัสดุที่ใช้ทำ�วัตถุมีหลายชนิด เช่น ผ้า แก้ว

พลาสติก ยาง ไม้ อิฐ หิน กระดาษ โลหะ

วัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติที่สังเกตได้ต่าง ๆ เช่น

นุ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ ใส ทึบ ยืดหดได้

๒. สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุแต่ละชนิดอาจ

เหมือนกัน ซึ่งสามารถนำ�มาใช้ในการจัดกลุ่ม

วัสดุได้

๓. วัสดุบางอย่างสามารถนำ�มาประกอบกันเพื่อ

ทำ�เป็นวัตถุต่าง ๆ เช่น ผ้าและกระดุม ใช้ทำ�

เสื้อ ไม้และโลหะ ใช้ทำ�กระทะ

ด้านความรู้

๑. ระบุชนิดของวัสดุที่ใช้ทำ�วัตถุ

๒. อธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ใช้ทำ�วัตถุซึ่ง

ทำ�จากวัสดุชนิดเดียวหรือหลายชนิดประกอบกัน

๓. จัดกลุ่มวัสดุตามสมบัติที่สังเกตได้

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสิ่งของต่าง ๆ

รอบตัวโดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น ตัวอย่างสิ่งของหรือ

รูปภาพ และระบุชื่อสิ่งของที่นักเรียนสังเกตเห็น

๒. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสิ่งของรอบตัวที่นักเรียนระบุและ

ลงข้อสรุปว่าสิ่งของที่อยู่รอบตัวเราเรียกว่าวัตถุ

๓. ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตสิ่งที่นำ�มาประกอบกันเป็นวัตถุ ครูใช้คำ�ถาม

เพื่อร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการสังเกตและลง

ข้อสรุปว่า สิ่งที่นำ�มาทำ�เป็นวัตถุ เช่น กระดาษ พลาสติก ยาง ไม้ โลหะ

เรียกว่า วัสดุ

๔. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับชนิดของ

วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ทำ�วัตถุแต่ละชิ้น โดยให้นักเรียนสังเกตวัสดุของจริงแต่ละ

ชนิดประกอบการอภิปราย

80

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง

อนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

มาตรฐาน ว ๒.๓ เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานใน

ชีวิตประจำ�วัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด

๑. อธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ใช้ทำ�วัตถุซึ่งทำ�จากวัสดุชนิดเดียวหรือหลายชนิดประกอบกันโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

๒. ระบุชนิดของวัสดุและจัดกลุ่มวัสดุตามสมบัติที่สังเกตได้

สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ