Table of Contents Table of Contents
Previous Page  91 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 91 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตสมบัติที่สังเกตได้

ของวัสดุที่ใช้ทำ�วัตถุ และบันทึกสิ่งที่สังเกตได้

๒. ทักษะการจำ�แนกประเภท โดยจัดกลุ่มวัสดุ

ต่างๆ ตามสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุหรือชนิด

ของวัสดุ

๓. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายข้อมูลจากการสังเกต

มาลงข้อสรุปสมบัติและชนิดของวัสดุที่ใช้

ทำ�วัตถุ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกตจากข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับ

สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ใช้ทำ�วัตถุได้ครบถ้วน ตาม

ความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการจำ�แนกประเภท จากการจัดกลุ่ม

วัสดุตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการแสดงความเห็นร่วมกัน โดยอ้างอิงข้อมูลจาก

การสังเกตมาลงข้อสรุปชนิดและสมบัติของวัสดุที่ใช้

ทำ�วัตถุ

๕. นักเรียนใช้ประสาทสัมผัสสังเกตวัตถุ เช่น รถของเล่น กระเป๋านักเรียน

ตุ๊กตา เก้าอี้ ยางลบ เพื่อระบุชนิดของวัสดุที่ใช้ทำ�วัตถุ บันทึกผล สรุปผล

และนำ�เสนอ

๖. ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

จากการสังเกตและลงข้อสรุปว่าวัตถุทำ�จากวัสดุชนิดต่าง ๆ วัตถุบางอย่าง

อาจทำ�จากวัสดุชนิดเดียว วัตถุบางอย่างอาจทำ�จากวัสดุหลายชนิดมา

ประกอบกัน

๗. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสมบัติที่สังเกต

ได้ของวัสดุ โดยอาจใช้วิธีซักถามหรือใช้สื่อ เช่น ตัวอย่างวัสดุต่าง ๆ หรือ

รูปภาพ

๘. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยการสังเกตสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ใช้

ทำ�วัตถุ เช่นนุ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ ใส ทึบ ยืดได้ ยืดไม่ได้ ผิวมันวาว บันทึกผล

การสังเกต สรุปผลและนำ�เสนอผลการสังเกต ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียน

ร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการสังเกตและสรุปว่า

วัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติที่สังเกตได้ บางประการเหมือนกัน บางประการ

แตกต่างกัน

๙. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับ การจัดกลุ่มวัสดุ

ตามสมบัติของวัสดุโดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น ตัวอย่าง

สิ่งของหรือรูปภาพ

๑๐. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยการสังเกตสมบัติที่เหมือนกันและแตกต่างกัน

ของวัสดุ จากนั้นจัดกลุ่มวัสดุตามสมบัติของวัสดุที่นำ�มาทำ�วัตถุ เช่น แก้ว

กับโลหะ แข็งเหมือนกัน ยางกับผ้านุ่มเหมือนกัน ไม้กับผ้า ขรุขระเหมือนกัน

แก้วกับพลาสติกเรียบเหมือนกัน บันทึกผล นำ�เสนอผลการจัดกลุ่ม

๑๑. ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

จากการสังเกตและสรุปว่าวัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติที่สังเกตได้บางประการ

เหมือนกันและบางประการแตกต่างกัน และสามารถนำ�สมบัติเหล่านี้มาใช้

จัดกลุ่มวัสดุได้

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งานเป็น

ทีม โดยนักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมเกี่ยวกับ

สมบัติและชนิดของวัสดุร่วมกันแสดงความ

คิดเห็นและนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม

๒. ทักษะด้านการสื่อสาร โดยนำ�เสนอผลการ

ทำ�กิจกรรมและร่วมกันแสดงความคิดเห็นใน

ชั้นเรียนเกี่ยวกับสมบัติและชนิดของวัสดุ

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ประเมินทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีมจากการลงมือปฏิบัติและอภิปรายชนิดและ

สมบัติของวัสดุร่วมกับผู้อื่น ตั้งแต่เริ่มต้นจนสำ�เร็จ

ลุล่วง

๒. ประเมินทักษะด้านการสื่อสารจากการนำ�เสนอผล

การทำ�กิจกรรมและร่วมกันแสดงความคิดเห็นใน

ชั้นเรียนเรื่องชนิดและสมบัติของวัสดุเพื่อให้ผู้อื่น

เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง

81

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑