การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
เซรามิกส์เป็นวัสดุที่ผลิตจาก ดิน หิน ทราย
และแร่ธาตุต่าง ๆ จากธรรมชาติ และส่วนมาก
จะผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงเพื่อให้ได้เนื้อสารที่
แข็งแรง เซรามิกส์สามารถทำ�เป็นรูปทรงต่างๆ ได้
สมบัติทั่วไปของเซรามิกส์จะแข็ง แต่เปราะ ทน
ต่อการสึกกร่อน สามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้
เช่น เครื่องปั้นดินเผานำ�มาทำ�เป็นภาชนะบรรจุ
อาหาร กระถางต้นไม้ เครื่องกระเบื้องใช้มุง
หลังคา ถ้วยชาม สุขภัณฑ์ แก้วใช้ทำ�กระจก
แก้วน้ำ�
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตสมบัติของ
เซรามิกส์แต่ละชนิด และบันทึกสิ่งที่สังเกตได้
๒. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
โดยนำ�ข้อมูลจากการสังเกตและการสืบค้น
มาแปลความหมายเพื่อสรุปชนิดและสมบัติ
บางประการของเซรามิกส์
ด้านความรู้
ระบุสมบัติทางกายภาพบางประการและการใช้
ประโยชน์ของวัสดุประเภทเซรามิกส์
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึก
การสังเกตสมบัติของเซรามิกส์ได้อย่างถูกต้อง ตาม
ความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว
๒. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและ
การสืบค้นข้อมูลมาลงข้อสรุปเกี่ยวกับชนิดและ
สมบัติบางประการของเซรามิกส์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน
สมบัติทางกายภาพบางประการและการใช้ประโยชน์
ของวัสดุประเภทเซรามิกส์
๑. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับวัสดุพอลิเมอร์ โดยใช้วิธีซักถาม หรือใช้
สื่อต่าง ๆ เช่น ภาพและตัวอย่างพอลิเมอร์ในชีวิตประจำ�วัน
๒. ครูสำ�รวจความรู้เกี่ยวกับวัสดุประเภทเซรามิกส์ ด้วยวิธีการซักถาม และ
แสดงตัวอย่างของจริง เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถาม
เกี่ยวกับความหมาย ชนิด และสมบัติที่สังเกตได้ของเซรามิกส์ เพื่อนำ�ไป
สู่การปฏิบัติกิจกรรม
๓. นักเรียนสืบค้นข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับความหมาย สมบัติทั่วไป และ
ประเภทของเซรามิกส์ จากสื่อบนอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
บันทึกผล รวบรวมข้อมูล และนำ�เสนอ
๔. ครูรวบรวมข้อมูลจากการนำ�เสนอทั้งชั้นเรียน และใช้คำ�ถามให้นักเรียน
อภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า เซรามิกส์เป็นวัสดุที่ผลิตจาก ดิน หิน ทราย และ
แร่ธาตุต่างๆ จากธรรมชาติ และส่วนมากจะผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงเพื่อ
ให้ได้เนื้อสารที่แข็งแรง เซรามิกส์สามารถทำ�เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ เซรามิกส์
มีหลายประเภท เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องกระเบื้อง แก้ว
๕ ครูใช้คำ�ถามเพื่ออภิปรายตัวอย่างเซรามิกส์แต่ละประเภทโดยใช้
สื่อต่าง ๆ และตัวอย่างของจริงประกอบและกระตุ้นให้นักเรียนเกิด
ข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสมบัติของเซรามิกส์บางประเภท เช่น
เครื่องปั้นดินเผา เครื่องกระเบื้อง แก้ว
๖. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยสังเกตความเหมือนและความต่างของตัวอย่าง
เซรามิกส์ที่ครูกำ�หนด เช่น หม้อดินเผา แจกันดินเผา จานกระเบื้อง
กระเบื้องปูพื้น แก้วน้ำ� กระจกใส และทดสอบลักษณะบางประการ เช่น
ลักษณะเนื้อ การยอมให้แสงผ่าน เสียงที่เกิดจากการเคาะ บันทึกผล สรุป
และนำ�เสนอ
293
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓