Table of Contents Table of Contents
Previous Page  305 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 305 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านทักษะ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการผลการลงข้อสรุปความหมายและสมบัติบาง

ประการของวัสดุผสมได้ถูกต้อง ครบถ้วน

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ประเมินทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีม จากการร่วมกันสืบค้นข้อมูล การอภิปราย

เกี่ยวกับวัสดุผสมและการแก้ปัญหาสถานการณ์

เกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุตั้งแต่เริ่มต้นจนสำ�เร็จลุล่วง

๒. ประเมินทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำ�เสนอ

ความหมาย สมบัติ และตัวอย่างวัสดุผสมเพื่อให้ผู้

อื่นเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ

สื่อสาร จากผลการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความหมาย

สมบัติและตัวอย่าง วัสดุผสมบนอินเทอร์เน็ต จาก

แหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ และเลือกใช้ข้อมูลนั้นอย่าง

ถูกต้องและอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูล

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

ประเมินความตระหนักถึงคุณค่าของการใช้วัสดุผสมจาก

การเสนอแนะแนวทางการใช้วัสดุผสมอย่างประหยัด

และคุ้มค่า

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยนำ�ข้อมูลจากการสืบค้นมาแปลความหมาย

เพื่อสรุปความหมายและสมบัติบางประการของ

วัสดุผสม

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีม โดยร่วมกัน สืบค้นข้อมูล และ

อภิปรายเกี่ยวกับวัสดุผสมและการแก้ปัญหา

สถานการณ์เกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุ

๒. ทักษะด้านการสื่อสาร โดยการนำ�เสนอผล

การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความหมาย สมบัติ

และตัวอย่าง วัสดุผสม

๓. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ

สื่อสาร โดยสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความหมาย

สมบัติและตัวอย่าง วัสดุผสมบนอินเทอร์เน็ต

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

ตระหนักถึงคุณค่าของการใช้วัสดุผสม

๒. นักเรียนสืบค้นข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับความหมาย สมบัติและตัวอย่าง

วัสดุผสม จากสื่อบนอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ บันทึกผลและ

รวบรวมข้อมูล นำ�เสนอ

๓. ครูใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการรวบรวมข้อมูลการนำ�เสนอของนักเรียน

ทั้งชั้นและใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่าวัสดุ

ผสมเป็นวัสดุที่เกิดจากวัสดุตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไปรวมตัวกัน โดยวัสดุชนิด

หนึ่งเป็นเนื้อหลัก และวัสดุที่เหลือกระจายตัวอยู่ในวัสดุเนื้อหลัก เรียกว่า

วัสดุเสริมแรง เพื่อให้ได้สมบัติที่เหมาะสมกับการนำ�ไปใช้ประโยชน์ เช่น

เสื้อกันฝนเกิดจากการผสมน้ำ�ยางธรรมชาติกับผ้า ยางรถยนต์เกิดจาก

การผสมยางกับผงถ่าน คอนกรีตเสริมเหล็กเกิดจากการผสมคอนกรีตกับ

แท่งเหล็ก

๔. ครูตั้งคำ�ถามโดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากนำ�เสนอของนักเรียนเพื่อให้

นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ สมบัติของวัสดุผสมและลงข้อสรุปว่า

วัสดุผสมมีสมบัติแตกต่างจากวัสดุแต่ละชนิดที่รวมตัวกัน เช่น การผสม

คอนกรีตกับเหล็กทำ�ให้วัสดุผสมทนต่อแรงดึงและต้านทานการโค้งได้ดี

การเลือกวัสดุที่มาผสมกันเสริมแรงขึ้นอยู่กับสมบัติของวัสดุผสมที่ต้องการ

๕. ครูกำ�หนดสถานการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์วัสดุผสมในชีวิต

ประจำ�วันเพื่อให้ร่วมกันอภิปรายและเลือกใช้วัสดุอย่างเหมาะสม โดย

คำ�นึงถึงจุดประสงค์การใช้งาน สมบัติของวัสดุ ความประหยัด คุ้มค่าและ

ผลกระทบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

295

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓