การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๓. อธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมี รวมถึงการจัดเรียงตัวใหม่ของอะตอมเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใช้แบบจำ�ลองและสมการข้อความ
ด้านความรู้
๑. การเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือการเปลี่ยนแปลง
ทางเคมีของสาร เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำ�ให้
เกิดสารใหม่ โดยสารที่เข้าทำ�ปฏิกิริยา เรียก
ว่า สารตั้งต้น สารใหม่ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยา
เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ การเกิดปฏิกิริยาเคมี
สามารถเขียนแทนได้ด้วยสมการข้อความ
๒. การเกิดปฏิกิริยาเคมี อะตอมของสารตั้งต้น
จะมีการจัดเรียงตัวใหม่ ได้เป็นผลิตภัณฑ์ซึ่ง
มีสมบัติแตกต่างจากสารตั้งต้น โดยอะตอม
แต่ละชนิดก่อนและหลังเกิดปฏิกิริยาเคมีมี
จำ�นวนเท่ากัน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตสมบัติของสาร
และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกสิ่งที่
สังเกตได้
๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยใช้
ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายการเกิด
ปฏิกิริยาเคมี
ด้านความรู้
อธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมี และอธิบายการจัดเรียงตัว
ใหม่ของอะตอมก่อนและหลังการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดย
ใช้แบบจำ�ลองและสมการข้อความ
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกการ
สังเกตสมบัติของสารและการเปลี่ยนแปลงที่เกิด
ขึ้น ได้ครบถ้วน ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความ
คิดเห็นส่วนตัว
๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จากการ
ใช้ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายการเกิดปฏิกิริยา
เคมีได้อย่างสมเหตุสมผล
๑. ครูสำ�รวจความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารที่พบใน
ชีวิตประจำ�วัน โดยใช้วิธีซักถาม ใช้สื่อ ภาพเคลื่อนไหว หรือกิจกรรมสาธิต
การผสมสาร ครูอธิบายเพิ่มเติมว่าการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่า ปฏิกิริยาเคมี
๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
เคมี โดยใช้วิธีซักถาม ใช้สื่อ ภาพเคลื่อนไหว หรือกิจกรรมสาธิตการผสมสาร
เพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติกิจกรรม
๓. นักเรียนปฏิบัติตามวิธีทำ�กิจกรรมโดยสังเกตสมบัติของสารที่ใช้และ
สารที่เกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น การเผาโพแทสเซียมเปอร์
แมงกาเนต การผสมแคลเซียมคลอไรด์กับโซเดียมคาร์บอเนต การผสม
สังกะสีกับกรดซัลฟิวริก บันทึกผล วิเคราะห์ สรุปผล และนำ�เสนอ
๔. ครูรวบรวมข้อมูลของนักเรียนของทั้งชั้นเรียนและใช้คำ�ถามเพื่อร่วมกัน
อภิปรายและลงข้อสรุปว่า การเกิดปฏิกิริยาเคมี สังเกตได้จากการเปลี่ยน
สี การตกตะกอน การเกิดแก๊ส การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ สารที่นำ�มาทำ�
ปฏิกิริยาเรียกว่าสารตั้งต้น สารที่เกิดขึ้นใหม่เรียกว่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีสมบัติ
ต่างจากสารตั้งต้น
๕. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ สารตั้งต้น และสารผลิตภัณฑ์
ในปฏิกิริยาเคมีที่ได้ลงมือปฏิบัติ และเขียนประโยคสัญลักษณ์แสดงความ
สัมพันธ์ของสารตั้งต้นที่เข้าทำ�ปฏิกิริยากันและผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น นำ�
เสนอ และลงข้อสรุปว่าประโยคสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเป็นสมการข้อความ
ซึ่งใช้เขียนแทนปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น
296