การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๕. วิเคราะห์ปฏิกิริยาดูดความร้อน และปฏิกิริยาคายความร้อน จากการเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนของปฏิกิริยา
ด้านความรู้
เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี มีการถ่ายโอนความร้อน
ควบคู่ไปกับการจัดเรียงตัวใหม่ของอะตอม
ของสาร ปฏิกิริยาที่มีการถ่ายโอนความร้อนจาก
สิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
ปฏิกิริยาที่มีการถ่ายโอนความร้อนจากระบบ
ออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลง
อุณหภูมิและการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของสาร
บันทึกสิ่งที่สังเกตได้
๒. ทักษะการวัด โดยใช้เครื่องชั่งวัดมวล
กระบอกตวงวัดปริมาตร และเทอร์มอมิเตอร์
วัดอุณหภูมิ หรือเครื่องมือตรวจวัดที่สามารถ
ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้
อย่างต่อเนื่อง
๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย
ใช้ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายการ
เปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนของปฏิกิริยา
เคมี
ด้านความรู้
ระบุประเภทของปฏิกิริยาจากการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ความร้อนได้เป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน และปฏิกิริยาคาย
ความร้อน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการสังเกตการ
เปลี่ยนแปลง อุณหภูมิและการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของ
สาร และบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ครบถ้วน ตามความเป็นจริง
โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว
๒. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เครื่องชั่งวัดมวล
กระบอกตวงวัดปริมาตร และเทอร์มอมิเตอร์วัด
อุณหภูมิ หรือเครื่องมือตรวจวัดที่สามารถตรวจสอบ
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้อย่างต่อเนื่องพร้อม
ระบุหน่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จากการใช้
ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ความร้อนของปฏิกิริยาเคมีได้อย่างสมเหตุสมผล
๑. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำ�วัน เพื่อนำ�
ไปสู่การอภิปรายและลงข้อสรุปว่าระบบเป็นสิ่งที่เราต้องการศึกษา
ส่วนสิ่งที่นอกเหนือจากระบบเป็นสิ่งแวดล้อม
๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนของระบบที่มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น
โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่างๆ เช่น รูป ภาพเคลื่อนไหว วิดีทัศน์
เพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติกิจกรรม
๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยวัดอุณหภูมิของสารแต่ละชนิดก่อน
และหลังผสมสาร ของปฏิกิิริยาระหว่างสารต่าง ๆ เช่น สารละลาย
แคลเซียมไฮดรอกไซด์กับสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
แอมโมเนียมคลอไรด์กับแคลเซียมออกไซด์ ยีสต์กับไฮโดรเจนเปอร์
ออกไซด์ แอมโมเนียมไนเตรตกับแบเรียมไฮดรอกไซด์ บันทึกผล
วิเคราะห์ สรุปผลและนำ�เสนอ
๔. ครูใช้หลักฐานเชิงประจักษ์โดยรวบรวมข้อมูลจากการนำ�เสนอทั้ง
ชั้นเรียนและใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุป
ว่า ปฏิกิริยาเคมีส่วนมากมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อน โดยมี
การถ่ายโอนความร้อนควบคู่ไปกับการเกิดสารใหม่ ปฏิกิริยาที่
อุณหภูมิต่ำ�ลงจะมีการถ่ายโอนความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบ
เป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน ปฏิกิริยาที่อุณหภูมิสูงขึ้นมีการถ่ายโอน
ความร้อนจากระบบออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน
300