การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๗. ระบุประโยชน์และโทษของปฏิกิริยาเคมีที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และยกตัวอย่างวิธีการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี
ที่พบในชีวิตประจำ�วัน จากการสืบค้นข้อมูล
ด้านความรู้
ปฏิกิริยา เ คมีที่พบในชีวิตประจำ �วันมีทั้ง
ประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
จึงต้องระมัดระวังผลจากปฏิกิริยาเคมี ตลอดจน
รู้จักวิธีป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดจากปฏิกิริยา
เคมีที่พบในชีวิตประจำ�วัน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล
โดยนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นเกี่ยวกับผล
ของปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำ�วัน
ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมานำ�เสนอใน
รูปแบบต่าง ๆ
๑. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำ�วัน เช่น ปฏิกิริยา
การเกิดสนิมของเหล็ก ปฏิกิริยาของกรดกับโลหะ ปฏิกิริยาระหว่างกรด
กับเบส ปฏิกิริยาของเบสกับโลหะ ปฏิกิริยาการเผาไหม้ การเกิดฝนกรด
และการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรืออภิปราย
๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับประโยชน์และ
โทษของปฏิกิริยาเคมีข้างต้นที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
๓. นักเรียนสืบค้นข้อมูล จากสื่อต่าง ๆ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับ
ผลจากปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำ�วันที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม คำ�เตือนบนฉลาก วิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายที่เป็น
ผลมาจากปฏิกิริยาเคมี นักเรียนอภิปรายร่วมกัน
๔. นักเรียนนำ�เสนอผลการรวบรวมข้อมูล โดยจัดแสดงผลงานในรูปแบบต่างๆ
และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินผลงานของแต่ละกลุ่ม
ในประเด็นที่กำ�หนด และคัดเลือกผลงานที่เหมาะสมเพื่อเผยแพร่ผ่าน
สื่อออนไลน์
๕. นักเรียนแต่ละคนสรุปประโยชน์และโทษของปฏิกิริยาเคมีปฏิกิริยาการ
เกิดสนิมของเหล็ก ปฏิกิริยาของกรดกับโลหะ ปฏิกิริยาระหว่างกรด
กับเบส ปฏิกิริยาของเบสกับโลหะ ปฏิกิริยาการเผาไหม้ การเกิดฝนกรด
และการสังเคราะห์ด้วยแสง ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยอาจสรุป
เป็นชิ้นงานในรููปแบบต่าง ๆ ส่งครู
ด้านความรู้
๑. ระบุประโยชน์และโทษของปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิต
ประจำ�วันที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
๒. ยกตัวอย่างวิธีการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดจากผล
ของปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำ�วัน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล
จากการนำ�ข้อมูลที่รวบรวมได้จากสื่อต่างๆ มาจัดแสดง
เพื่อสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และ
ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
ชัดเจน และถูกต้อง
305
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓