การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๘. ออกแบบวิธีแก้ปัญหาในชีวิตประจำ�วันโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี โดยบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
ด้านความรู้
ความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี สามารถนำ�ไป
ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วัน และสามารถ
บูรณาการกับคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีโดย
ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อ
แก้ปัญหาในชีวิตประจำ�วัน หรือปรับปรุง
ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามต้องการ หรืออาจ
สร้างนวัตกรรมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาที่
เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมี โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับ
ปฏิกิริยาเคมี เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ความร้อนอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาเคมี การเพิ่ม
ปริมาณผลผลิต
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการวัด โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมใน
การวัดปริมาณที่เกี่ยวข้อง
๒. ทักษะการกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์และเงื่อนไขของ
ความสำ�เร็จของชิ้นงานหรือวิธีการที่ออกแบบ
๓. ทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปร โดย
กำ�หนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปร
ควบคุม อย่างเหมาะสมและครอบคลุม
ด้านความรู้
อธิบายวิธีแก้ปัญหาในชีวิตประจำ�วันหรืออธิบายการ
สร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีโดยบูรณาการ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการ
ออกแบบเชิงวิศวกรรม
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เครื่องมือที่
เหมาะสมในการวัดปริมาณที่เกี่ยวข้อง พร้อมระบุ
หน่วยของการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๒. ประเมินทักษะการกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการ จาก
การกำ�หนดความหมายและขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับ
สถานการณ์และเงื่อนไขของความสำ�เร็จของชิ้นงาน
หรือวิธีการที่ออกแบบให้เข้าใจตรงกัน และสามารถ
สังเกตหรือวัดได้
๑. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี และผลของปฏิกิริยาเคมีที่
มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยใช้คำ�ถามให้นักเรียนคิดเชื่อมโยง
กับสถานการณ์ที่พบในชีวิตประจำ�วัน หรือยกตัวอย่างสถานการณ์ปัญหา
ให้นักเรียนอภิปรายในกลุ่มเพื่อเสนอวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้
เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี
๒. ครูกำ�หนดสถานการณ์หรือให้นักเรียนสำ�รวจสถานการณ์ซึ่งอาจเป็น
ปัญหาในชีวิตประจำ�วัน หรือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ปฏิกิริยาเคมีมาช่วย
ในการแก้ปัญหา เช่น ปัญหาการเกิดสนิมของเหล็ก การสึกกร่อนของ
พื้นห้องน้ำ� การให้ความร้อนจากแผ่นประคบร้อน เพื่อให้นักเรียนแก้ปัญหา
หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีมา
บูรณาการกับคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านกระบวนการออกแบบเชิง
วิศวกรรม
๓. นักเรียนระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี หรือนวัตกรรม
ที่ต้องการพัฒนา โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีมาบูรณาการกับ
คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
๔. นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี ที่สอดคล้องกับปัญหา
ที่ระบุ หรือนำ�ไปสู่การพัฒนานวัตกรรมนั้น เช่น วัตถุดิบ อุปกรณ์ ต้นทุน
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่ได้จากการสืบค้น
บันทึกผลการรวบรวม
307
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓