การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๑๒.วิเคราะห์ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมและแบบขนานจากหลักฐานเชิงประจักษ์
๑๓.เขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและขนาน
ด้านความรู้
๑. การต่อตัวต้านทาน ๒ ตัว แบบอนุกรมใน
วงจรไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่คร่อม
ตัวต้านทานทั้งสองมีค่าเท่ากับผลรวมของ
ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่คร่อมตัวต้านทาน
แต่ละตัว โดยกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทาน
แต่ละตัวมีค่าเท่ากัน
๒. การต่อตัวต้านทาน ๒ ตัว แบบขนานในวงจร
ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานทั้งสอง
มีค่าเท่ากับผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัว
ต้านทานแต่ละตัว โดยความต่างศักย์ไฟฟ้าที่
คร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน
๓. การเขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อ
ตัวต้านทานแบบอนุกรมและขนานทำ�ได้โดย
ใช้สัญลักษณ์แสดงส่วนประกอบของวงจร
ไฟฟ้า
หมายเหตุ :
ไม่รวมการคำ�นวณตามกฎของโอห์ม
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง
ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม
และแบบขนานในวงจรไฟฟ้า โดยอาจใช้วิธีซักถามหรือการใช้สื่อต่าง ๆ
เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าของ
การต่อตัวต้านทานแต่ละแบบ
๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยสังเกตลักษณะการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม
และแบบขนาน ออกแบบตารางบันทึกผล และวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า
และกระแสไฟฟ้าของการต่อตัวต้านทานแต่ละแบบ บันทึกผล และสรุปผล
เพื่อนำ�เสนอ
๓. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อลง
ข้อสรุปได้ว่า
- ก า รต่อตัวต้ านทาน ๒ ตัว แบบอนุก รม ใ นว ง จ ร ไ ฟฟ้า
ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่คร่อมตัวต้านทานทั้งสองมีค่า เท่ากับ
ผลรวมของความต่างศักย์ไฟฟ้าที่คร่อมตัวต้านทานแต่ละตัว
ตามสมการ
V
รวม
=
V
1
+
V
2
โดยกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทาน
ทั้งหมดมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานแต่ละตัว
ตามสมการ
I
รวม
=
I
1
=
I
2
ด้านความรู้
๑. อธิบายความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจร
ไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทาน ๒ ตัวแบบอนุกรมและแบบ
ขนาน
๒. บรรยายวิธีการเขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแสดงการ
ต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและขนาน
313
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓