การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๑๔. บรรยายการทำ�งานของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายในวงจรจากข้อมูลที่รวบรวมได้
๑๕. เขียนแผนภาพและต่อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายในวงจรไฟฟ้า
ด้านความรู้
๑. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีหลายชนิด เช่น
ตัวต้านทาน ไดโอด ตัวเก็บประจุ และ
ทรานซิสเตอร์ โดยชิ้นส่วนแต่ละชนิดทำ�
หน้าที่แตกต่างกัน
๒. ตัวต้านทานทำ�หน้าที่ควบคุมปริมาณกระแส
ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
๓. ไดโอดทำ�หน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าผ่านทางเดียว
๔. ตัวเก็บประจุทำ�หน้าที่เก็บและคายประจุ
ไฟฟ้า
๕. ทรานซิสเตอร์ทำ�หน้าที่เป็นสวิตช์ปิดหรือเปิด
วงจรไฟฟ้าและควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้า
๖. เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบด้วยชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดที่ทำ�งานร่วมกัน
๗. การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยเลือกใช้
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม ตามหน้าที่
ของชิ้นส่วนนั้น ๆ จะสามารถทำ�ให้วงจร
ไฟฟ้าทำ�งานได้ตามต้องการ
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับหน้าที่ของชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์บางอย่างในวงจรไฟฟ้าโดยการใช้สื่อต่างๆ เช่น ตัวอย่าง
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือภาพ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมศึกษาหน้าที่
ของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ตัวต้านทาน ไดโอด ตัวเก็บประจุ และ
ทรานซิสเตอร์
๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วย
ตัวต้านทาน ไดโอด ตัวเก็บประจุหรือทรานซิสเตอร์ สังเกต บันทึกผล
และสรุปพร้อมทั้งนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม
๓. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า
• ตัวต้านทานทำ�หน้าที่ควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
• ไดโอดทำ�หน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าผ่านทางเดียว
• ตัวเก็บประจุทำ�หน้าที่เก็บและคายประจุไฟฟ้า
• ทรานซิสเตอร์ทำ�หน้าที่เป็นสวิตช์ปิดหรือเปิดวงจรไฟฟ้าและ
ควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้า
๔. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับหลักการทำ�งานและสัญลักษณ์ของ
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชนิด
๕. นักเรียนเขียนแผนภาพวงจรอิเล็กทรอนิกส์จากกิจกรรมที่ปฏิบัติโดย
ใช้สัญลักษณ์
ด้านความรู้
๑. บรรยายหน้าที่ของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น
ตัวต้านทาน ไดโอด ตัวเก็บประจุ และทรานซิสเตอร์
๒. บรรยายวิธีการเขียนแผนภาพการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์
และการทำ�งานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ทำ�งานได้
ตามที่ต้องการ
316