การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๑๖. อธิบายและคำ�นวณพลังงานไฟฟ้าโดยใช้สมการ
W = Pt
รวมทั้งคำ�นวณค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
๑๗. ตระหนักในคุณค่าของการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเสนอแนะวิธีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
ด้านความรู้
๑. เครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีค่ากำ�ลังไฟฟ้าและความ
ต่างศักย์ไฟฟ้ากำ�กับไว้ กำ�ลังไฟฟ้ามีหน่วย
เป็นวัตต์ ความต่างศักย์ไฟฟ้ามีหน่วยเป็น
โวลต์ ค่าไฟฟ้าส่วนใหญ่คิดจากพลังงานไฟฟ้า
ที่ใช้ทั้งหมด ซึ่งหาได้จากผลคูณของกำ�ลังไฟฟ้า
ในหน่วย กิโลวัตต์ กับเวลาในหน่วยชั่วโมง
พลังงานไฟฟ้ามีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ ชั่วโมง
หรือหน่วย
๒. วงจรไฟฟ้าในบ้านมีการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า
แบบขนานเพื่อให้ความต่างศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำ�วันต้อง
เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้า
และกำ�ลังไฟฟ้าให้เหมาะกับการใช้งาน และ
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องใช้
อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และประหยัด
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับกำ�ลังไฟฟ้าโดยอาจ
ใช้วิธีซักถามหรือการใช้สื่อต่าง ๆ เช่น ฉลากเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อนำ�ไปสู่
การสืบค้นข้อมูล
๒. นักเรียนสำ�รวจเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
กำ�ลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า บันทึกผล นำ�เสนอ
๓. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่ากำ�ลังไฟฟ้า (
P
) ของ
เครื่องใช้ไฟฟ้า คือ พลังงานไฟฟ้า (
W
) ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ในหนึ่ง
หน่วยเวลา ตามสมการ
P
= − มีหน่วยเป็นจูลต่อวินาที หรือวัตต์ ดังนั้น
สามารถคำ�นวณพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้จาก
W
=
Pt
มีหน่วยเป็นจูล หรือวัตต์*วินาที
๔. ครูกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเพิ่มเติม
เกี่ยวกับวิธีการคำ�นวณหาค่าไฟฟ้าในบ้าน โดยใช้สื่อประกอบ เช่น รูป
ถ่ายใบเสร็จค่าไฟฟ้า หรือใบเสร็จค่าไฟฟ้าเพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูล
เกี่ยวกับวิธีการคำ�นวณหาค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
๕. นักเรียนสืบค้นข้อมูล บันทึกผล และนำ�เสนอ
๖. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปได้ว่าค่าไฟฟ้าส่วนใหญ่คิดจาก
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดในหน่วย กิโลวัตต์*ชั่วโมง หรือหน่วย
ด้านความรู้
๑. อธิบายวิธีการคำ�นวณพลังงานไฟฟ้าและค่าไฟฟ้า
ของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
๒. อธิบายวิธีการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์
ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง ประหยัด และปลอดภัย
W
t
319
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓