การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตผลการหักเหของ
แสงและการกระจายแสงเมื่อแสงเคลื่อนที่
ผ่านตัวกลางโปร่งใสที่แตกต่างกัน
๒. ทักษะการวัด โดยใช้อุปกรณ์วัดมุมพร้อม
ระบุหน่วยของการวัด
๓. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย
ข้อมูล โดยการออกแบบตารางบันทึกผล
และการนำ�เสนอข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่าง
กันเกี่ยวกับการหักเหของแสง การเกิดภาพ
จากเลนส์บางและการกระจายแสงเมื่อแสง
เคลื่อนที่ผ่านตัวกลางโปร่งใสที่แตกต่างกัน
๔. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย
การนำ�หลักฐานเชิงประจักษ์จากการปฏิบัติ
กิจกรรมมาอธิบายเกี่ยวกับการหักเหและผล
ของการหักเหของแสง
๕. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
โดยทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่บันทึกได้เพื่อลง
ข้อสรุปเกี่ยวกับการหักเหของแสง การเกิด
ภาพจากเลนส์บางและการกระจายแสง
เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางโปร่งใสที่
แตกต่างกัน
๖. ทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง โดยการเขียน
แผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงเพื่อแสดงการ
เกิดภาพจากเลนส์บาง
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกข้อมูล
เกี่ยวกับการหักเหของแสงและการกระจายแสงเมื่อ
แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางโปร่งใสที่แตกต่างกันได้
ครบถ้วน ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็น
ส่วนตัว
๒. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้อุปกรณ์วัดมุม
พร้อมระบุหน่วยของการวัดได้ถูกต้อง
๓. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย
ข้อมูล จากการออกแบบตารางบันทึกผลและ
การนำ�เสนอข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ
การหักเหของแสง การเกิดภาพจากเลนส์บางและ
การกระจายแสงเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง
โปร่งใสที่แตกต่างกัน
๔. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก
การนำ�หลักฐานเชิงประจักษ์จากการปฏิบัติกิจกรรม
มาอธิบายเกี่ยวกับการหักเหและผลของการหักเห
ของแสงได้อย่างสมเหตุสมผล
๕. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลง
ข้อสรุป จากการทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่บันทึกได้เพื่อ
ลงข้อสรุปเกี่ยวกับการหักเหของแสง การเกิดภาพ
จากเลนส์บางและการกระจายแสงเมื่อแสงเคลื่อนที่
ผ่านตัวกลางโปร่งใสที่แตกต่างกันได้อย่างถูกต้อง
๖. ประเมินทักษะสร้างแบบจำ�ลองจากการเขียน
แผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงเพื่อแสดงการเกิด
ภาพจากเลนส์บางได้ถูกต้อง
๖. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเกิดภาพและชนิดของภาพ
เพื่อลงข้อสรุปว่าภาพที่เกิดจากหักเหเมื่อแสงผ่านตัวกลางโปร่งใสที่แตก
ต่างกันเกิดจากรังสีหักเหตัดกันหรือต่อแนวรังสีหักเหให้ตัดกัน โดยถ้ารังสี
หักเหตัดกันจริง จะเกิดภาพจริงซึ่งจะปรากฏบนฉากได้ แต่ถ้าต่อแนวรังสี
หักเหให้ไปตัดกันจะเกิดภาพเสมือนซึ่งจะไม่สามารถปรากฏบนฉากได้
๗. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงการนำ�ความรู้เกี่ยวกับการหักเหของ
แสงและการสะท้อนกลับหมดไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน เช่น การมองเห็น
ตำ�แหน่งของปลาในน้ำ�ไม่ตรงกับตำ�แหน่งที่แท้จริง การทำ�ใยแก้วนำ�แสง
๘. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพที่เกิดจากการหักเหของแสงผ่าน
เลนส์บาง เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเพื่อสังเกตการหักเหของแสงผ่าน
เลนส์บางและการเกิดภาพ
๙. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม สังเกต บันทึกผล สรุป และนำ�เสนอ
๑๐. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อลงข้อสรุปว่า
• การหักเหของแสงผ่านเลนส์นูนทำ�ให้เกิดภาพจริงซึ่งอาจจะมีขนาด
เล็กกว่า เท่ากับ หรือใหญ่กว่า ขนาดของวัตถุ นอกจากเกิดภาพจริงแล้ว
ยังอาจเกิดภาพเสมือนขนาดใหญ่กว่าวัตถุด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำ�แหน่ง
ของวัตถุ
• การหักเหของแสงผ่านเลนส์เว้าทำ�ให้เกิดภาพเสมือนขนาดเล็กกว่า
ขนาดของวัตถุ
๑๑. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการเขียนแผนภาพ
การเคลื่อนที่ของแสงโดยใช้หลักการหักเหของแสงเพื่อแสดงและ
อธิบายการเกิดภาพจากเลนส์บาง
๑๒. นักเรียนเขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงจากเลนส์บาง เมื่อวางวัตถุ
ที่ตำ�แหน่งต่าง ๆ หน้าเลนส์บางทั้งเลนส์นูนและเลนส์เว้า นำ�เสนอ
331
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓