การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๒๕. อธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสงและการทำ�งานของทัศนอุปกรณ์จากข้อมูลที่รวบรวมได้
๒๖. เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง แสดงการเกิดภาพของทัศนอุปกรณ์และเลนส์ตา
ด้านความรู้
๑. การสะท้อนและการหักเหของแสงนำ�ไป
ใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่น
รุ้ง มิราจ และอธิบายการทำ�งานของทัศน
อุปกรณ์ เช่น แว่นขยาย กระจกโค้งจราจร
กล้องโทรทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์ และแว่น
สายตา
๒. ในการมองวัตถุ เลนส์ตาจะถูกปรับโฟกัส
เพื่อให้เกิดภาพชัดที่จอตา ความบกพร่อง
ทางสายตา เช่น สายตาสั้นและสายตายาว
เป็นเพราะตำ�แหน่งที่เกิดภาพไม่ได้อยู่ที่จอ
ตาพอดี จึงต้องใช้เลนส์ในการแก้ไขเพื่อช่วย
ให้มองเห็นเหมือนคนสายตาปกติโดยคน
สายตาสั้นใช้เลนส์เว้า ส่วนคนสายตายาว
ใช้เลนส์นูน
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง
และการทำ�งานของทัศนอุปกรณ์ โดยอาจใช้วิธีซักถาม การสาธิต หรือ
ใช้สื่ออื่น ๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ
ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง และทัศนอุปกรณ์อย่างง่ายอื่นๆ
๒. นักเรียนสืบค้นข้อมูลปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่น การเกิดรุ้ง มิราจ
และทัศนอุปกรณ์อย่างง่ายอื่น ๆ เช่น แว่นขยาย กระจกโค้งจราจร
กล้องโทรทรรศน์ บันทึกผลและนำ�เสนอ
๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า การสะท้อนและการหักเหของ
แสงนำ�ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่น รุ้ง มิราจ
๔. นักเรียนร่วมกันอภิปรายและอธิบายการทำ�งานของทัศนอุปกรณ์ เช่น
แว่นขยาย กระจกโค้งจราจร กล้องโทรทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์ โดยเขียน
แผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงแสดงการเกิดภาพจากทัศนอุปกรณ์ต่าง ๆ
๕. นักเรียนออกแบบและสร้างอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสะท้อนหรือ
การหักเหของแสง นำ�เสนอ
๖. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ�งานของตาและความบกพร่อง
ของสายตา เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้น บันทึกผลและนำ�เสนอ
ด้านความรู้
๑. อธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับการหักเหและ
การสะท้อนของแสง เช่น รุ้ง มิราจ
๒. อธิบายการเคลื่อนที่ของแสงโดยเขียนแผนภาพ
แสดงการเกิดภาพของทัศนอุปกรณ์ เช่น แว่นขยาย
กระจกโค้งจราจร กล้องโทรทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์
๓. อธิบายและเขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงผ่าน
เลนส์ตาและการแก้ไขความบกพร่องทางสายตา
โดยใช้เลนส์
333
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓