2.1.2 ธาตุและสารประกอบ
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนเรื่องธาตุและสารประกอบโดยใช้รูป 2.3 เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ที่มาของธาตุคาร์บอน ซึ่งเป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของสิ่งมีชีวิต แล้วใช้คำ�ถามเพิ่มเติม ดังนี้
นอกจากสิ่งมีชีวิตมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักแล้ว ยังมีธาตุอื่นอีกหรือไม่
จากนั้นครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า นอกจากสิ่งมีชีวิตจะมีธาตุคาร์บอน
ออกซิเจน และไฮโดรเจน เป็นองค์ประกอบหลักแล้วยังมีธาตุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบอีกด้วย โดยส่วน
ใหญ่ธาตุเหล่านี้จะอยู่ในรูปของไอออนและมีปริมาณที่แตกต่างกัน ถึงแม้สิ่งมีชีวิตต้องการธาตุบางชนิด
ในปริมาณเล็กน้อย แต่ถ้าได้รับปริมาณไม่เพียงพอหรือเมื่อมีการสูญเสียไปอาจทำ�ให้การทำ�งานของ
อวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติได้
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสำ�คัญของธาตุและการขาดธาตุต่าง ๆ ที่พบในพืช และ
สัตว์ แล้วนำ�มาอภิปรายร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าธาตุต่างชนิดกันมีหน้าที่แตกต่างกัน การขาดธาตุ
เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคคอพอก ภาวะโลหิตจาง โรคกระดูกพรุน จากนั้นให้นักเรียนจัดทำ�
สื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น infographic ป้ายนิเทศ คลิปวีดิทัศน์
ครูอาจเชื่อมโยงการนำ�ความรู้เรื่องความจำ�เป็นของธาตุต่อการดำ�รงชีวิต เช่น การทำ�ไข่เค็ม
เสริมไอโอดีน การทำ�เกลือสินเธาว์เสริมไอโอดีน การทำ�ปุ๋ยสั่งตัดสำ�หรับพืชซึ่งเป็นการจัดธาตุอาหาร
ที่จำ�เป็นสำ�หรับพืชในแต่ละพื้นที่ตามข้อมูลชุดดินและค่าวิเคราะห์ดิน โดยใช้ชุดตรวจสอบ N-P-K
ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับธาตุและสารประกอบ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า โมเลกุลที่ประกอบด้วย
อะตอมมากกว่า 1 ชนิดเรียกว่าสารประกอบ เช่น โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
ครูให้ความรู้เกี่ยวกับพันธะเคมี โดยใช้รูป 2.6 และ 2.7 ในหนังสือเรียน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า
การรวมตัวของอะตอมเกิดแรงยึดเหนี่ยวที่เรียกว่า พันธะเคมี ซึ่งพันธะเคมีเกี่ยวข้องกับ
เวเลนซ์อิเล็กตรอนของคู่อะตอมที่ร่วมสร้างพันธะกัน การยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมธาตุ 2 อะตอม
โดยการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกันเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ และการยึดเหนี่ยวระหว่างประจุไฟฟ้า
ของไอออนบวกและไอออนลบเกิดเป็นพันธะไอออนิก นอกจากนี้โมเลกุลยังเกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง
โมเลกุล โดยอาจเกิดจากโมเลกุลชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เช่น พันธะไฮโดรเจน
ครูให้นักเรียนศึกษารูป 2.8 แล้วให้สืบค้นข้อมูลและอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า
ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยสารต่าง ๆ ในปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิพิด
กรดนิวคลิอิก และน้ำ� ซึ่งสารเหล่านี้มีความสำ�คัญต่อร่างกายเนื่องจากเป็นส่วนประกอบของเซลล์และ
เนื้อเยื่อ รวมทั้งช่วยในการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ภายในเซลล์ ทำ�ให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำ�รงชีวิตอยู่ได้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา เล่ม 1
94