แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนยกตัวอย่างสารประกอบคาร์บอนที่นักเรียนรู้จัก เพื่อให้ได้
ข้อสรุปว่า สารประกอบคาร์บอนที่พบในสิ่งมีชีวิตมีหลายประเภท เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิพิด
และกรดนิวคลิอิก เป็นต้น จากนั้นครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า สารประกอบคาร์บอนเหล่านี้จะมีอะตอม
คาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ และอาจมีธาตุอื่นๆ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
และกำ�มะถันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
สารประกอบอินทรีย์
ในอดีตนักเคมีเชื่อว่าสารอินทรีย์ต้องได้มาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่ต่อมามีนักวิทยาศาสตร์
สามารถสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ได้ ปัจจุบันจึงมีการกล่าวว่าสารประกอบอินทรีย์
หมายถึงสารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก โดยอาจเกิดจากสิ่งมีชีวิตหรือ
จากการสังเคราะห์ก็ได้ ยกเว้นสารต่อไปนี้ซึ่งจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์
1. สารที่เป็นอัญรูปของธาตุคาร์บอน เช่น เพชร แกรไฟต์ และฟุลเลอรีน
2. ออกไซด์ของคาร์บอน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO
2
)
3. กรดคาร์บอนิก (H
2
CO
3
)
4. เกลือคาร์บอเนตและไฮโดรเจนคาร์บอเนต เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO
3
) โซเดียม
ไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO
3
)
5. เกลือไซยาไนด์ เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN)
6. เกลือคาร์ไบด์ เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ (CaC
2
)
นักเรียนศึกษารูป 2.12 และ 2.13 เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การสร้างพันธะโคเวเลนต์
ระหว่างอะตอมของคาร์บอนอาจเกิดเป็นพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม เนื่องจากคาร์บอนมี
เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 4 และอะตอมคาร์บอนยังสามารถสร้างพันธะโคเวเลนต์กับอะตอมของ
ธาตุอื่น ๆ เช่น ไฮโดรเจน โดยสารที่มีอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้นเป็นองค์ประกอบ
เรียกว่า สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความหมายและตัวอย่างของหมู่ฟังก์ชัน การเขียนโครงสร้างและ
แหล่งที่พบ ควรให้นักเรียนเข้าใจสัญลักษณ์ของสูตรทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างเพื่อเป็นพื้นฐานในการ
ศึกษาต่อไป
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา เล่ม 1
99