Table of Contents Table of Contents
Previous Page  112 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 112 / 284 Next Page
Page Background

ครูควรตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องสารประกอบคาร์บอนโดยใช้คำ�ถามดังนี้

สารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างอย่างไร และมีความสำ�คัญต่อการดำ�รงชีวิต

ของสิ่งมีชีวิตอย่างไร

ครูอาจใช้รูป 2.14 และให้นักเรียนร่วมกันสรุปว่า สารประกอบคาร์บอนขนาดใหญ่ส่วนมาก

เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากโมเลกุลหน่วยย่อยเรียกว่า มอนอเมอร์ หลายโมเลกุลเชื่อมต่อกันด้วยพันธะ

เคมี เช่น การเชื่อมต่อกันของกลูโคสกลายเป็นแป้ง การเชื่อมต่อกันของกรดแอมิโนเกิดเป็นโปรตีน

การเชื่อมต่อกันของนิวคลีโอไทด์เกิดเป็นสาย DNA ซึ่งสารประกอบคาร์บอนเหล่านี้เป็นองค์ประกอบ

ของเซลล์สิ่งมีชีวิต

2.3.1 คาร์โบไฮเดรต

ครูทบทวนความรู้ของนักเรียนโดยให้นักเรียนยกตัวอย่างอาหารที่มีสารอาหารประเภท

คาร์โบไฮเดรต จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลัก ประเภทของ

คาร์โบไฮเดรต คือ มอโนแซ็กคาไรด์ ไดแซ็กคาไรด์ และพอลิแซ็กคาไรด์ ตัวอย่างของคาร์โบไฮเดรต

แต่ละประเภท รวมถึงประโยชน์และแหล่งที่พบคาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิด

จากนั้นให้นักเรียนศึกษารูป 2.15 เพื่อสรุปให้ได้ว่า เมื่อพิจารณาหมู่ฟังก์ชันของมอโนแซ็กคาไรด์

พบว่ามีหมู่ไฮดรอกซิลจำ�นวนหลายหมู่ และแบ่งมอโนแซ็กคาไรด์ได้เป็น 2 ประเภทคือ มอโนแซ็กคาไรด์

ที่มีหมู่คาร์บอนิลกลุ่มแอลดีไฮด์ ได้แก่ ไรโบส กลูโคส และกาแล็กโทส มอโนแซ็กคาไรด์ที่มีหมู่

คาร์บอนิล กลุ่มคีโตน ได้แก่ ไรบูโลส และฟรักโทส โดยมอโนแซ็กคาไรด์ส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างรูปแบบ

วง เฮกโซสมีคาร์บอน 6 อะตอม อาจมีโครงสร้างเป็นวง 6 เหลี่ยม เช่น กลูโคส หรืออาจมีโครงสร้าง

เป็นวง 5 เหลี่ยม เช่น ฟรักโทส ซึ่งการที่จะเกิดเป็นวง 5 หรือ 6 เหลี่ยมขึ้นกับสมบัติเฉพาะของ

เฮกโซสแต่ละชนิด

ครูให้นักเรียนศึกษาตำ�แหน่งของพันธะไกลโคซิดิกในโมเลกุลของไดแซ็กคาไรด์ คือ ซูโครส

มีพันธะไกลโคซิดิก แบบ

α

- 1,2 (คาร์บอนตำ�แหน่งที่ 1 ของกลูโคสเชื่อมต่อกับคาร์บอนตำ�แหน่งที่ 2

ของฟรักโทส) มอลโทสมีพันธะไกลโคซิดิก แบบ

α

- 1,4 (คาร์บอนตำ�แหน่งที่ 1 ของกลูโคสเชื่อมกับ

คาร์บอนตำ�แหน่งที่ 4 ของกลูโคสอีกโมเลกุล) ซึ่งแตกต่างจากพันธะไกลโคซิดิกของแล็กโทส ที่มี

พันธะไกลโคซิดิก แบบ

β

- 1,4 (คาร์บอนตำ�แหน่งที่ 1 ของกาแล็กโทสเชื่อมกับคาร์บอนตำ�แหน่งที่ 4

ของกลูโคส) ดังนั้นพันธะไกลโคซิดิกจึงมี 2 แบบ คือ แบบ

α

และแบบ

β

การสร้างพันธะไกลโคซิดิก

1 พันธะ ทำ�ให้เกิดน้ำ� 1 โมเลกุล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ชีววิทยา เล่ม 1

100