Table of Contents Table of Contents
Previous Page  189 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 189 / 284 Next Page
Page Background

กัน โดยเซลล์มีโครงสร้างพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม และ

นิวเคลียส

ครูอาจขยายความรู้ให้แก่นักเรียนเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เมื่อใช้ชนิดของเซลล์เป็นเกณฑ์การจัด

จำ�แนกจะแบ่งสิ่งมีชีวิตออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิ่งมีชีวิตโพรแคริโอตและสิ่งมีชีวิตยูแคริโอต โดย

ใช้ภาพแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำ�เงินในหนังสือเรียน ประกอบการอธิบายว่า สาหร่ายสีเขียว

แกมน้ำ�เงินเป็นสิ่งมีชีวิตโพรแคริโอตที่เป็นเซลล์โพรแคริโอซึ่งไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส DNA จึงแขวนลอย

อยู่ในไซโทพลาซึม เรียกบริเวณนี้ว่า นิวคลีออยด์ (nucleoid) และไม่มีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม จากนั้น

ใช้ภาพพารามีเซียม อะมีบา เซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์ประสาท ประกอบการอธิบายว่า ภาพดัง

กล่าวเป็นตัวอย่างสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตที่ประกอบด้วยเซลล์ยูแคริโอตซึ่งเป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส

และออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มหลายชนิด

3.2.1 ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์

ครูให้นักเรียนศึกษาภาพนำ�ของบทที่ 3 เรื่องเซลล์และการทำ�งานของเซลล์ ซึ่งแสดงรูปร่าง

ลักษณะ และโครงสร้างของเซลล์สาหร่ายสไปโรไจราภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ แล้ว

ให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย โดยมีแนวคำ�ถามดังนี้

จากภาพนำ� ส่วนใดบ้างที่เป็นส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์

ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ใดที่ไม่สามารถเห็นได้จากภาพที่เห็นเต็มเซลล์

จากการอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรสรุปให้ได้ว่า ส่วนที่ห้อหุ้มเซลล์ คือ ผนังเซลล์ และ

เยื่อหุ้มเซลล์ โดยครูอาจใช้ภาพเซลล์โพรติสท์หรือพืชที่ไซโทพลาซึมหดตัวประกอบการอธิบายเพิ่มเติมว่า

เหตุผลที่มองไม่เห็นชั้นเยื่อหุ้มเซลล์จากภาพเป็นเพราะเยื่อหุ้มเซลล์จะอยู่ชิดกับผนังเซลล์มาก แต่หาก

ต้องการเห็นเยื่อหุ้มเซลล์ของโพรติสท์หรือพืชที่มีผนังเซลล์หุ้มอยู่ด้านนอกสามารถทำ�ได้โดยการทำ�ให้

เซลล์เหี่ยวด้วยสารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายในเซลล์จะทำ�ให้เซลล์สูญเสียน้ำ�ออก

สู่สารละลายภายนอก ทำ�ให้ไซโทพลาซึมหดตัวและสามารถเห็นชั้นของเยื่อหุ้มเซลล์แยกออกจาก

ผนังเซลล์ได้ดังภาพตัวอย่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

177