Table of Contents Table of Contents
Previous Page  191 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 191 / 284 Next Page
Page Background

เยื่อหุ้มเซลล์

ครูทบทวนความรู้เดิมเรื่องสารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิตที่เรียนมาแล้วในบทที่ 2 และให้

นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์โดยใช้รูป3.6 ในหนังสือเรียน

ซึ่งแสดงโครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์แบบฟลูอิดโมเซอิกโมเดล แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย โดยมีแนว

คำ�ถามดังนี้

โครงสร้างหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยสารอะไรบ้าง

รูปแบบการจัดเรียงตัวขององค์ประกอบเยื่อหุ้มเซลล์แบบฟลูอิดโมเซอิกโมเดล มีที่มาจาก

โครงสร้างหลักใด เพราะเหตุใด

จากการอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรอธิบายได้ว่า เยื่อหุ้มเซลล์มีโครงสร้างหลัก คือ ลิพิด และ

โปรตีน นอกจากนี้ยังพบคาร์โบไฮเดรตเป็นสายเกาะที่ผิวด้านนอก และยังมีไซโทสเกเลตอนติดที่โปรตีน

บริเวณด้านในเยื่อหุ้มเซลล์ สามารถเชื่อมโยงถึงที่มาของชื่อการจัดเรียงตัวขององค์ประกอบเยื่อหุ้ม

เซลล์แบบฟลูอิดโมเซอิกโมเดลได้ว่า ฟลูอิดมีที่มาจาก ลิพิด เพราะฟลูอิดแปลว่า เหลวหรือของเหลว

ซึ่งลิพิดมีสมบัติดังกล่าว ส่วนโมเซอิกมีที่มาจากโปรตีน เพราะพบโปรตีนเรียงตัวกระจายคล้ายลวดลาย

แบบโมเสก (mosaic)

ลิพิด

ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลิพิดและใช้รูป 3.7 ในหนังสือเรียน ซึ่ีงแสดงการจัดเรียงตัว

ของฟอสโฟลิพิดเป็น 2 ชั้นของเยื่อหุ้มเซลล์แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย โดยมีแนวคำ�ถามดังนี้

ลิพิดที่เป็นโครงสร้างหลักของเยื่อหุ้มเซลล์คืออะไร และมีการเรียงตัวอย่างไร

โมเลกุลของฟอสโฟลิพิดแต่ละส่วนมีสมบัติอย่างไรบ้าง

จากการอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรอธิบายได้ว่า ลิพิดที่เป็นโครงสร้างหลักของเยื่อหุ้มเซลล์

คือ ฟอสโฟลิพิด ซึ่งเรียงตัวเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วยส่วนหัวที่ชอบน้ำ�และส่วนหางที่ไม่ชอบน้ำ� โดยหัน

ส่วนหัวที่ชอบน้ำ�หรือส่วนที่มีสมบัติไฮโดรฟิลิกออกด้านนอกและด้านในเซลล์ และหันส่วนหางที่ไม่

ชอบน้ำ�หรือส่วนที่มีสมบัติไฮโดรโฟบิกเข้าหากัน

ครูอาจชี้ตำ�แหน่งคอเลสเตอรอลในรูป 3.7 ในหนังสือเรียน และขยายความรู้เพิ่มให้กับนักเรียน

ว่า นอกจากฟอสโฟลิพิดแล้วยังพบคอเลสเตอรอลแทรกอยู่ระหว่างส่วนหางของฟอสโฟลิพิดด้วย ทำ�ให้

ช่องว่างระหว่างโมเลกุลของฟอสโฟลิพิดคงที่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคอเลสเตอรอลที่ช่วยรักษาสภาพความ

เหลวของเยื่อหุ้มเซลล์ให้สมดุล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

179