นอกจากนี้ยังเห็นโครงสร้างใดภายในเซลล์สาหร่ายหางกระรอกอีกบ้าง
จากการอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรสรุปได้ว่า ไซโทพลาซึมประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ออร์แกเนลล์ และไซโทซอล นอกจากนี้ยังเห็นออร์แกเนลล์อื่นในเซลล์สาหร่ายหางกระรอก เช่น
คลอโรพลาสต์ และแวคิวโอล
ครูใช้รูป 3.5 ในหนังสือเรียนซึ่งแสดงโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สัตว์และเซลล์พืช และให้
นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมจากภาพดังกล่าว แล้วถามนักเรียนว่า
นักเรียนเห็นโครงสร้างใดเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมที่ 3.1
นักเรียนอาจตอบว่า โครงสร้างที่พบเพิ่ม คือ เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม ไรโบโซม กอลจิคอมเพล็กซ์
ไลโซโซม ไมโทคอนเดรีย เพอร็อกซิโซม เซนทริโอล ไซโทสเกเลตอน และเห็นรายละเอียดของโครงสร้าง
คลอโรพลาสต์ เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ และนิวเคลียสเพิ่มขึ้น
ออร์แกเนลล์
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
ครูอาจเลือกใช้ภาพเซลล์สัตว์หรือเซลล์พืชจากรูป 3.5 เพื่อชี้ตำ�แหน่งของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
ที่พบในเซลล์และรูป 3.10 ซึ่งแสดงโครงสร้างของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม และให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล
เกี่ยวกับเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมในหนังสือเรียนแล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย โดยมีแนวคำ�ถามดังนี้
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมมีลักษณะโครงสร้างอย่างไร
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมมีกี่ชนิด ได้แก่อะไรบ้าง ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำ�แนก
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแต่ละชนิดทำ�หน้าที่อะไร
จากการอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรระบุเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมที่พบภายในเซลล์ รวมถึง
อธิบายได้ว่าเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมเป็นออร์แกเนลล์มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว ลักษณะเป็นถุงแบนเชื่อมกัน
กระจายเป็นร่างแหและเรียงซ้อนกัน โดยเชื่อมต่อกับเยื่อหุ้มชั้นนอกของนิวเคลียส ที่ผิวนอกของ
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมบางบริเวณมีไรโบโซมติดอยู่ เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมมี 2 ชนิด ได้แก่
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ โดยใช้การมีไรโบโซม
ติดอยู่ที่ผิวเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมในการจำ�แนก แต่ละชนิดทำ�หน้าที่ดังนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
183