Table of Contents Table of Contents
Previous Page  242 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 242 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

สารผสมที่ประกอบด้วยของแข็งที่มีลักษณะ

แตกต่างกันอย่างชัดเจนสามารถแยกได้โดยการ

หยิบออก ส่วนสารผสมที่มีขนาดแตกต่างกัน

สามารถแยกได้โดยการร่อน

การแยกสารผสมโดยการหยิบออกและการร่อน

๑. ครูใช้คำ�ถามทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารผสม และตรวจสอบความรู้

เดิมเกี่ยวกับการแยกสารผสมในชีวิตประจำ�วัน เช่น การร่อนทรายก่อสร้าง

การร่อนแป้งทำ�ขนม การแยกเหรียญ จากนั้นครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิด

ข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการแยกสารผสมที่เป็นของแข็งที่มีลักษณะ

แตกต่างกันโดยอาจใช้คำ�ถาม ใช้การสาธิต หรือสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ

วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมการแยกสารโดยการหยิบออกและ

การร่อน

๒. นักเรียนออกแบบวิธีการแยกสารผสมที่ครูกำ�หนดให้ โดยใช้สารผสม

ที่สามารถแยกได้โดยการหยิบออกและการร่อน เช่น กรวดเม็ดเล็กกับ

ทราย ข้าวเปลือกผสมกับข้าวสาร ข้าวสารผสมกับรำ�ข้าว ลูกกวาดหลายสี

เม็ดสาคูผสมกับแป้งทำ�ขนม โดยระบุจุดประสงค์ วิธีทำ�กิจกรรม

ด้านความรู้

อธิบายการแยกสารผสมโดยการหยิบออกและการร่อน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตลักษณะ

ของสารผสมและวิธีแยกของแข็งที่มีลักษณะ

แตกต่างกันออกจากกัน บันทึกสิ่งที่สังเกตได้

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกลักษณะ

ของสารและวิธีแยกของแข็งที่มีลักษณะแตกต่างกัน

ออกจากกัน ตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่ม

ความคิดเห็นส่วนตัว

232

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ

มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค

หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำ�วัน ผลของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว ๒.๓ เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำ�วัน

ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด

๑. อธิบายและเปรียบเทียบการแยกสารผสมโดยการหยิบออก การร่อน การใช้แม่เหล็กดึงดูด การรินออก การกรอง และการตกตะกอน

โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ รวมทั้งระบุวิธีแก้ปัญหาในชีวิตประจำ�วันเกี่ยวกับการแยกสาร