การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๒. อธิบายการเกิดและผลของแรงไฟฟ้าซึ่งเกิดจากวัตถุที่ผ่านการขัดถูโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
ด้านความรู้
๑. วัตถุบางชนิดที่ผ่านการขัดถูแล้ว เมื่อนำ�
เข้าใกล้วัตถุอื่นที่ไม่ได้ผ่านการขัดถู จะเกิด
แรงดึงดูด แรงที่เกิดขึ้นนี้เป็นแรงไฟฟ้าซึ่งเป็น
แรงไม่สัมผัส
๒. วัตถุบางชนิดสองชิ้นที่ผ่านการขัดถู เมื่อ
นำ�เข้าใกล้กันอาจดึงดูดหรือผลักกันซึ่งเกิด
จากแรงระหว่างประจุไฟฟ้า โดยประจุไฟฟ้ามี
๒ ชนิด คือ ประจุไฟฟ้าบวกและประจุไฟฟ้าลบ
วัตถุที่มีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะผลักกัน
วั ต ถุ ที่ มี ป ร ะ จุ ไ ฟฟ้ า ช นิ ด ต ร ง ข้ า ม กั น
จะดึงดูดกัน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยบรรยายลักษณะการ
เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้นเมื่อนำ�วัตถุ
ที่ผ่านการขัดถูเข้าใกล้วัตถุเบา ๆ และการนำ�
วัตถุที่ผ่านการขัดถูทั้งสองชิ้นเข้าใกล้กัน
ด้านความรู้
๑. อธิบายการเกิดแรงไฟฟ้า
๒. อธิบายผลของการนำ�วัตถุ ๒ ชนิดที่ผ่านการขัดถู
เข้าใกล้กัน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการบันทึกรายละเอียด
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้นเมื่อ
นำ�วัตถุที่ผ่านการขัดถูเข้าใกล้วัตถุเบาๆ และการนำ�
วัตถุที่ผ่านการขัดถูทั้งสองชิ้นเข้าใกล้กันตามความ
เป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว
๑. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแรงไม่สัมผัส โดยใช้การซักถาม หรือ
สื่อต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปสู่เรื่องแรงไฟฟ้า
๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับแรงไฟฟ้า
โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือกิจกรรมสาธิต เช่น การใช้ลูกโป่งถูกับเส้นผม
เพื่อนำ�ไปสู่การสังเกตการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุเบา ๆ เมื่อ
นำ�วัตถุที่ผ่านการขัดถูเข้าใกล้
๓. นักเรียนออกแบบกิจกรรมโดยใช้อุปกรณ์ที่ครูกำ�หนดให้ เช่น ไม้บรรทัด
พลาสติก ผ้าสักหลาด เศษกระดาษชิ้นเล็ก ๆ พร้อมทั้งออกแบบตาราง
บันทึกผล
๔. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามที่ออกแบบไว้ โดยนำ�วัตถุต่าง ๆ มาขัดถู แล้ว
นำ�วัตถุนั้นเข้าใกล้วัตถุเบา ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของ
วัตถุเบาๆ นั้น บันทึกผลและสรุปผลการทำ�กิจกรรม
๕. นักเรียนนำ�เสนอ ร่วมกันอภิปราย โดยนำ�หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุน
เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อนำ�วัตถุบางชนิดมาขัดถู แล้วนำ�ไปเข้าใกล้วัตถุที่
เบาและมีขนาดเล็ก วัตถุนั้นจะเคลื่อนที่ได้ เนื่องจากเกิดแรงดึงดูดวัตถุนั้น
๖. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า แรงที่ทำ�ให้วัตถุเบาเคลื่อนที่ได้นี้เป็นแรงไฟฟ้าซึ่ง
เป็นแรงไม่สัมผัส
๗. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับแรงไฟฟ้าที่
เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่ผ่านการขัดถูสองชิ้นเพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมโดย
สังเกตการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ผ่านการขัดถูแต่ละชิ้น
เมื่อนำ�วัตถุทั้งสองเข้าใกล้กัน
237
วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖