Table of Contents Table of Contents
Previous Page  249 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 249 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๓. ระบุส่วนประกอบและบรรยายหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายจากหลักฐานเชิงประจักษ์

๔. เขียนแผนภาพและต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

ด้านความรู้

๑. ว ง จ ร ไ ฟฟ้ า อ ย่ า ง ง่ า ย ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย

แหล่งกำ�เนิดไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเครื่องใช้

ไฟฟ้า

๒. แหล่งกำ�เนิดไฟฟ้า ทำ�หน้าที่ให้พลังงานไฟฟ้า

สายไฟฟ้าเป็นตัวนำ�ไฟฟ้าทำ�หน้าที่เชื่อมต่อ

ระหว่างแหล่งกำ�เนิดไฟฟ้าและเครื่องใช้

ไฟฟ้าเข้าด้วยกัน เครื่องใช้ไฟฟ้ามีหน้าที่

เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น

๓. การเขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้า ทำ�ได้โดยใช้

สัญลักษณ์แสดงส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้า

และลักษณะการต่อของแต่ละส่วนประกอบ

ภายในวงจรไฟฟ้า

ด้านความรู้

๑. ระบุส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

๒. บรรยายหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบในวงจรไฟฟ้า

๓. อธิบายวิธีการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายโดยการเขียน

แผนภาพวงจรไฟฟ้า

๑. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า โดยใช้การซักถาม หรือ

สื่อต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปสู่เรื่องวงจรไฟฟ้า

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า

อย่างง่าย โดยอาจใช้การซักถาม กิจกรรมสาธิต หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น

วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

๓. นักเรียนออกแบบกิจกรรมการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายโดยใช้อุปกรณ์ที่ครู

กำ�หนดให้

๔. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามที่ออกแบบไว้ โดยต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเครื่องใช้ไฟฟ้า บันทึกผลและสรุปผล

การทำ�กิจกรรม

๕. นักเรียนนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม ร่วมกันอภิปรายและใช้หลักฐาน

เชิงประจักษ์เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบด้วย

ถ่านไฟฉาย สายไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำ�งานได้

๖. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าถ่านไฟฉายเรียกอีกอย่างว่าเซลล์ไฟฟ้า ซึ่งมี

ขั้วไฟฟ้า ๒ ขั้ว คือขั้วบวกและขั้วลบ เมื่อต่อวงจรไฟฟ้าให้ครบวงจร

กระแสไฟฟ้าจากแหล่งกำ�เนิดไฟฟ้าจะเคลื่อนที่จากขั้วบวกผ่านเครื่องใช้

ไฟฟ้ากลับเข้าสู่ขั้วลบ

๗. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของส่วนประกอบต่าง ๆ ใน

วงจรไฟฟ้า ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้า

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประ เ มินทักษะกา รสัง เ กต จากกา รบันทึก

รายละเอียดของส่วนประกอบและลักษณะของวงจร

ไฟฟ้าอย่างง่าย และบรรยายการเปลี่ยนแปลงของ

เครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบวงจร

ตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยบรรยายส่วนประกอบ

และลักษณะของวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย และ

บรรยายการเปลี่ยนแปลงของเครื่องใช้ไฟฟ้า

เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบวงจร

239

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖