การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๗. ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
๘. ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน โดยบอกประโยชน์ ข้อจำ�กัด และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ�วัน
ด้านความรู้
๑. การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมเป็นการต่อ
หลอดไฟฟ้าแบบเรียงกันโดยกระแสไฟฟ้าที่
ผ่านหลอดไฟฟ้าแต่ละดวงเป็นกระแสไฟฟ้า
จำ�นวนเดียวกัน เมื่อถอดหลอดไฟฟ้าดวงใด
ดวงหนึ่งออกทำ�ให้หลอดไฟฟ้าที่เหลือดับ
ทั้งหมด
๒. การต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานเป็นการต่อ
หลอดไฟฟ้าที่หลอดไฟฟ้าแต่ละดวงต่อคร่อม
กัน ทำ�ให้มีกระแสไฟฟ้าแยกผ่านหลอดไฟฟ้า
แต่ละดวง เมื่อถอดหลอดไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่ง
ออก หลอดไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสว่างอยู่
๓. การต่อหลอดไฟฟ้าแต่ละแบบสามารถนำ�ไปใช้
ประโยชน์ได้แตกต่างกัน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยบรรยายความสว่างของ
หลอดไฟฟ้าที่เหลือในวงจรไฟฟ้า เมื่อถอด
หลอดไฟฟ้าออก ๑ ดวง จากวงจรไฟฟ้าที่มี
การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
ด้านความรู้
๑. อธิบายและเปรียบเทียบการต่อหลอดไฟฟ้าแบบ
อนุกรมและแบบขนาน
๒. ระบุประโยชน์จากการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม
และแบบขนาน และยกตัวอย่างเหตุการณ์หรือการ
ต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานในชีวิต
ประจำ�วัน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการบันทึกรายละเอียด
ความสว่างของหลอดไฟฟ้าที่เหลือในวงจรไฟฟ้า
เมื่อถอดหลอดไฟฟ้าออก ๑ ดวง จากวงจรไฟฟ้าที่
มีการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการต่อ
หลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน โดยอาจใช้กิจกรรมสาธิต
ใช้สื่อต่าง ๆ เช่น วีดิทัศน์แสดงเหตุการณ์ที่มีหลอดไฟฟ้าบางดวงสว่าง
บางดวงดับ หรือใช้การซักถาม เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมการต่อ
หลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
๒. นักเรียนออกแบบวิธีการต่อหลอดไฟฟ้า ๒ ดวง โดยให้ออกแบบ ๒ วิธีที่
ทำ�ให้หลอดไฟฟ้าสว่างเพื่อเปรียบเทียบวงจรไฟฟ้าที่มีการต่อหลอดไฟฟ้า
ทั้ง ๒ วิธีนั้น บันทึกผล
๓. นักเรียนต่อวงจรไฟฟ้า ๒ วิธี ตามที่ได้ออกแบบไว้ จากนั้น ถอดหลอดไฟฟ้า
ของแต่ละวงจรออก ๑ ดวง สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหลอดไฟฟ้าที่เหลือ
ในวงจร บันทึกผล
๔. นักเรียนนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม ร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐาน
เชิงประจักษ์เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการต่อหลอดไฟฟ้าแบบเรียงกันเมื่อ
ถอดหลอดไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่งออกทำ�ให้หลอดไฟฟ้าที่เหลือดับทั้งหมด
เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟฟ้าแต่ละดวงเป็นกระแสไฟฟ้า
จำ�นวนเดียวกัน ส่วนการต่อหลอดไฟฟ้าให้หลอดไฟฟ้าแต่ละดวงต่อคร่อม
กัน เมื่อถอดหลอดไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่งออก หลอดไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสว่าง
ได้ เนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าแยกผ่านหลอดไฟฟ้าแต่ละดวง
๕. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าการต่อหลอดไฟฟ้าแบบเรียงกันเป็นการต่อ
หลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม ส่วนการต่อหลอดไฟฟ้าที่ต่อหลอดไฟฟ้าแต่ละ
ดวงคร่อมกันเป็นการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน
245
วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖