Table of Contents Table of Contents
Previous Page  265 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 265 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึก

รายละเอียดการสังเกตลักษณะของหินได้ครบถ้วน

ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการจำ�แนกประเภท จากผลการ

จำ�แนกประเภทหินจากการสังเกตลักษณะของหิน

ตามเกณฑ์ของตนเองและกระบวนการเกิดได้อย่าง

ถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การอธิบายผลของข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น

และจากแบบจำ�ลองมาลงความเห็นเกี่ยวกับ

กระบวนการเกิดหิน

๔. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปเกี่ยวกับ

วัฏจักรหินได้อย่างถูกต้อง

๕. ประเมินทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง จากแบบจำ�ลอง

ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับ

วัฏจักรหิน

๒. วัฏจักรหิน คือการเปลี่ยนแปลงของหินจาก

ประเภทหนึ่งไปเป็นหินอีกประเภทหนึ่ง

หรืออาจเป็นหินประเภทเดิมที่มีสมบัติบาง

ประการเปลี่ยนแปลงไป โดยมีแบบรูปการ

เปลี่ยนแปลง คงที่และต่อเนื่องเป็นวัฏจักร

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตลักษณะ

ของหิน

๒. ทักษะการจำ�แนกประเภท โดยการจำ�แนก

ประเภทหินจากการสังเกตลักษณะของหิน

ตามเกณฑ์ของตนเองและกระบวนการเกิด

๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย

อธิบายผลของข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น

ข้อมูลและจากแบบจำ�ลองมาลงความเห็น

เกี่ยวกับกระบวนการเกิดหิน

๔. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

เกี่ยวกับวัฏจักรหิน

๕. ทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง โดยสามารถ

ออกแบบและสร้างแบบจำ�ลองเพื่ออธิบาย

วัฏจักรหิน

หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร โดยการกระทำ�ของความร้อน ความดัน

และปฏิกิริยาเคมี เนื้อหินของหินแปรบางชนิดผลึกของแร่อาจเรียงตัว

ขนานกันเป็นแถบ บางชนิดเป็นเนื้อผลึกที่มีความแข็งมาก

๗. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย และตั้งคำ�ถามใหม่เกี่ยวกับความ

สัมพันธ์ของหินทั้ง ๓ ประเภทโดยอาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือ

สื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูล

๘. นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของหินทั้ง ๓ ประเภท

จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ หรือ

ใบความรู้ จากนั้นรวบรวมข้อมูล บันทึกผล

๙. นักเรียนออกแบบ สร้างแบบจำ�ลอง และนำ�เสนอเพื่ออธิบายเกี่ยวกับ

การเปลี่ยนแปลงของหินทั้ง ๓ ประเภท

๑๐. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแบบจำ�ลอง เพื่อลงข้อสรุปว่าหินอัคนี

หินตะกอน และหินแปร มีความสัมพันธ์กันโดยหินประเภทหนึ่งสามารถ

เปลี่ยนไปเป็นหินอีกประเภทหนึ่ง หรืออาจเป็นหินประเภทเดิมที่มีสมบัติ

บางประการเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงของหินมีแบบรูปการ

เปลี่ยนแปลงคงที่และต่อเนื่องเรียกว่า วัฏจักรหิน

255

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖