Table of Contents Table of Contents
Previous Page  267 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 267 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๔. บรรยายและยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของหินและแร่ในชีวิตประจำ�วันจากข้อมูลที่รวบรวมได้

ด้านความรู้

หินและแร่แต่ละชนิดมีลักษณะและสมบัติ

แตกต่างกัน จึงใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน

หินแต่ละชนิดมีลักษณะและสมบัติแตกต่างกัน

ตามชนิดของแร่ที่เป็นองค์ประกอบ จึงนำ�

ไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน เช่น การนำ�

หินแกรนิตมาปูพื้นเพราะมีแร่ที่มีความแข็งและมี

สีสันต่าง ๆ การนำ�หินทรายซึ่งประกอบด้วยแร่

ที่มีความแข็งมากมาใช้ในการลับมีด และการนำ�

หินอ่อนซึ่งแปรสภาพมาจากหินปูนทำ�ให้เนื้อ

หินแน่นมากขึ้น จึงนำ�มาใช้สร้างอาคารและ

อนุสาวรีย์ต่าง ๆ แต่ในบางครั้งจะมีการนำ�แร่มา

จากหินมาใช้ประโยชน์ในการทำ�สิ่งต่าง ๆ เช่น

แร่เหล็ก แร่ทองคำ� แร่ทองแดง แร่ฟลูออไรต์

แร่ควอตซ์

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตตัวอย่างหิน

และสิ่งของที่ทำ�จากหินและแร่

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย และตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์

ของหินและแร่ โดยอาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่าง ๆ เช่น

รูปภาพ วีดิทัศน์ ตัวอย่างหินและแร่ สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วันที่

ทำ�จากหินและแร่ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมต่าง ๆ

๒. นักเรียนสังเกตและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างหินแกรนิตกับ

หินอ่อน และสืบค้นแร่ที่เป็นองค์ประกอบของหินทั้ง ๒ ชนิด แล้วร่วมกัน

อภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่าหินประกอบด้วยแร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป

๓. นักเรียนสังเกตตัวอย่างหินและสิ่งของที่ทำ�จากหินและแร่ เช่น หินลับมีด

ที่ทำ�จากหินทราย และการนำ�แร่ควอตซ์จากหินทรายไปทำ�กระจก เพื่อ

ลงความเห็นว่าหินและแร่ประกอบหินสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ในชีวิต

ประจำ�วันได้

๔. นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหิน

และแร่จากตัวอย่างหิน ๑๒ ชนิด จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ เช่น

อินเทอร์เน็ต หนังสือ หรือใบความรู้ รวบรวมข้อมูล จัดกระทำ�กับข้อมูล

และนำ�เสนอ เพื่อลงข้อสรุปว่าหินและแร่แต่ละชนิดมีลักษณะและสมบัติ

แตกต่างกัน จึงใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน

ด้านความรู้

บรรยายการใช้ประโยชน์จากหินและแร่

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการสังเกตตัวอย่าง

หินและสิ่งของที่ทำ�จากหินและแร่ ได้ครบถ้วนตาม

ความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

257

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖