Table of Contents Table of Contents
Previous Page  272 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 272 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

๑. ลมบก ลมทะเล และมรสุม เกิดจาก

ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของอากาศ

เหนือพื้นดินและพื้นน้ำ�ที่อยู่ใกล้เคียงกัน

เนื่องจากพื้นดินและพื้นน้ำ� รับและถ่ายโอน

ความร้อนได้ไม่เท่ากัน ทำ�ให้เกิดการเคลื่อนที่

ของอากาศจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ� ไปยัง

บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง

๒. ลมบกเกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศเหนือ

พื้นดินไปยังทะเล ลมทะเลเป็นการเคลื่อนที่

ของอากาศจากทะเลเข้าสู่พื้นดิน ส่วนมรสุมมี

ลักษณะการเกิดเช่นเดียวกัน แต่ปกคลุมพื้นที่

กว้างกว่าลมบก ลมทะเล โดยเกิดลมพัดจาก

พื้นทวีปไปมหาสมุทรและจากมหาสมุทรไป

พื้นทวีป

๓. ลมบก ลมทะเล มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำ�วัน

ในการประกอบอาชีพของชาวประมง และ

ทำ�ให้ชายทะเลเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ

ส่วนมรสุมนอกจากมีประโยชน์ต่อการเดิน

เรือแล้ว ยังทำ�ให้เกิดฤดูต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อ

สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ด้านความรู้

๑. เปรียบเทียบการเกิดลมบก ลมทะเล และมรสุม

๒. อธิบายผลจากลมบก ลมทะเล และมรสุมที่มีต่อ

สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถาม เกี่ยวกับการเกิดลมบก

ลมทะเล และมรสุม โดยอาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่างๆ เช่น

รูปภาพ วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมการถ่ายโอน

ความร้อน

๒. นักเรียนสังเกตและรวบรวมข้อมูลจากแบบจำ�ลองเกี่ยวกับการถ่ายโอน

ความร้อนของทรายและน้ำ� เปรียบเทียบข้อมูลและอภิปราย เพื่อลงข้อ

สรุปว่าทรายถ่ายโอนความร้อนได้เร็วกว่าน้ำ�

๓. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยโดยครูตั้งคำ�ถามว่า การถ่ายโอน

ความร้อนในธรรมชาติเป็นอย่างไร และมีผลอย่างไร เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้น

ข้อมูลการเกิดลมบก ลมทะเล และมรสุม

๔. นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดลมบก ลมทะเล และมรสุม

จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกันอภิปรายและนำ�เสนอแบบจำ�ลองอธิบาย

แสดงการเกิดลมบก ลมทะเล และมรสุม

๕. นักเรียนนำ�เสนอแบบจำ�ลองการเกิดลมบก ลมทะเล และมรสุม จากนั้น

ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย เปรียบเทียบการเกิดลมบก ลมทะเล

และมรสุม เพื่อลงข้อสรุปว่า เมื่อพื้นดินกับพื้นน้ำ�ได้รับความร้อนจาก

ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวันพร้อมกัน พื้นดินจะรับและถ่ายโอนความร้อน

ได้เร็วกว่าพื้นน้ำ� อากาศเหนือพื้นดินจึงมีอุณหภูมิสูงกว่าจึงลอยตัวสูงขึ้น

อากาศเหนือพื้นน้ำ�ซึ่งเย็นกว่าจึงพัดมาแทนที่ ทำ�ให้เกิดลมทะเลในเวลา

กลางวัน แต่เวลากลางคืนพื้นดินจะถ่ายโอนความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ�

262

ตัวชี้วัด

๖. เปรียบเทียบการเกิดลมบก ลมทะเล และมรสุม รวมทั้งอธิบายผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม จากแบบจำ�ลอง