การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
๒. เมื่อให้ความร้อนแก่ของเหลว อนุภาคของ
ของเหลวจะมีพลังงานและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
จนถึงระดับหนึ่ง ซึ่งของเหลวจะใช้ความร้อน
ในการเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส เรียกความ
ร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะจากของเหลว
เป็นแก๊สว่า ความร้อนแฝงของการกลายเป็น
ไอ และอุณหภูมิขณะเปลี่ยนสถานะจะคงที่
เรียกอุณหภูมินี้ว่า จุดเดือด
๓. เมื่อทำ�ให้อุณหภูมิของแก๊สลดลงจนถึงระดับ
หนึ่งแก๊สจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
เรียกอุณหภูมินี้ว่า จุดควบแน่น ซึ่งมีอุณหภูมิ
เดียวกับจุดเดือดของของเหลวนั้น
๔. เมื่อทำ�ให้อุณหภูมิของของเหลวลดลงจนถึง
ระดับหนึ่ง ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเป็น
ของแข็ง เรียกอุณหภูมินี้ว่า จุดเยือกแข็ง
ซึ่งมีอุณหภูมิเดียวกับจุดหลอมเหลวของ
ของแข็งนั้น
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลง
อุณหภูมิของสสารที่เวลาต่าง ๆ และการ
เปลี่ยนสถานะของสสาร และบันทึกสิ่งที่
สังเกตได้
๒. ทักษะการวัดโดยการใช้เทอร์มอมิเตอร์วัด
อุณหภูมิของสสารที่เวลาต่าง ๆ
๓. นักเรียนนำ�เสนอกราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลาเพื่ออธิบาย
การเปลี่ยนสถานะของสสาร ครูรวบรวมข้อมูลทั้งชั้นและใช้คำ�ถามเพื่อ
ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่าความร้อนมีผลต่อการเปลี่ยน
สถานะของสสาร โดยเมื่อให้ความร้อนแก่ของแข็ง อุณหภูมิของของแข็งจะ
เพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่งและคงที่ ขณะที่อุณหภูมิคงที่ของแข็งจะเปลี่ยน
สถานะเป็นของเหลว และเมื่อให้ความร้อนแก่ของเหลว อุณหภูมิของเหลว
จะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่งและคงที่ ขณะที่อุณหภูมิคงที่นี้ของเหลวจะ
เปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส จากนั้นครูอภิปรายเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมว่า
อุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเรียกว่าจุดหลอมเหลว และ
อุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สเรียกว่าจุดเดือด
๔. ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมและลงข้อสรุปว่า เมื่อ
ทำ�ให้อุณหภูมิของแก๊สลดลงจนถึงระดับหนึ่งและคงที่ ขณะที่อุณหภูมิคงที่
แก๊สจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกอุณหภูมินี้ว่าจุดควบแน่น ซึ่งมี
อุณหภูมิเดียวกันกับจุดเดือดของของเหลวนั้น และเมื่อทำ�ให้อุณหภูมิของ
ของเหลวลดลงอีกจนถึงระดับหนึ่ง และมีอุณหภูมิคงที่ ขณะที่อุณหภูมิคงที่
ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกอุณหภูมินี้ว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่ง
มีอุณหภูมิเดียวกันกับจุดหลอมเหลวของของแข็งนั้น
๕. นักเรียนสืบค้นข้อมูลแบบจำ�ลองแสดงการเปลี่ยนแปลงการจัดเรียงอนุภาค
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสาร เมื่อ
สสารเปลี่ยนสถานะเนื่องจากความร้อน จากสื่อบนอินเทอร์เน็ตหรือแหล่ง
เรียนรู้อื่นๆ
๖. นักเรียนรวบรวมข้อมูลจากการสืบค้นภายในกลุ่มของตนเอง วิเคราะห์ผล
ของความร้อนที่มีต่อการเปลี่ยนสถานะของสสาร สร้างแบบจำ�ลองที่ได้
จากการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำ�เสนอ
๗. นักเรียนนำ�เสนอแบบจำ�ลองโดยอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แล้วครู
รวบรวมข้อมูลของทั้งชั้นเรียนและใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกัน
อภิปรายและครูอธิบายเพิ่มเติมเพื่อลงข้อสรุปว่า เมื่อของแข็งได้รับ
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกการ
เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารที่เวลาต่าง ๆ และ
การเปลี่ยนสถานะของสสารได้ครบถ้วน ตามความ
เป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว
116