การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ความร้อน อนุภาคของของแข็งจะมีพลังงานเพิ่มขึ้นและสั่นมากขึ้น
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของแข็งจะลดลง เมื่ออนุภาคของ
ของแข็งมีพลังงานเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่งจะมีอุณหภูมิคงที่ ที่อุณหภูมิ
นี้ของแข็งจะใช้ความร้อนเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกความร้อนที่
ใช้ในการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวว่า ความร้อนแฝงของ
การหลอมเหลว และอุณหภูมิขณะเปลี่ยนสถานะว่าจุดหลอมเหลว
เมื่อของเหลวได้รับความร้อน อนุภาคของของเหลวจะมีพลังงาน
เพิ่มขึ้นและเคลื่อนที่เร็วขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของเหลว
จะลดลง เมื่ออนุภาคของของเหลวมีพลังงานเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่งจะ
มีอุณหภูมิคงที่ ที่อุณหภูมิคงที่นี้ของเหลวจะใช้ความร้อนเปลี่ยนสถานะ
เป็นแก๊ส เรียกความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส
ว่า ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ และอุณหภูมิขณะเปลี่ยนสถานะ
ว่าจุดเดือด
เมื่อแก๊สสูญเสียความร้อน อนุภาคของแก๊สจะมีพลังงานลดลงและ
เคลื่อนที่ช้าลง อนุภาคของแก๊สจะเคลื่อนที่เข้าใกล้กันมากขึ้น แรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างอนุภาคของแก๊สจะเพิ่มขึ้น เมื่ออนุภาคของแก๊สมีพลังงานลดลง
จนถึงระดับหนึ่งจะมีอุณหภูมิคงที่ ขณะที่อุณหภูมิคงที่นี้แก๊สจะเปลี่ยน
สถานะเป็นของเหลว เรียกอุณหภูมิที่แก๊สจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
ว่าจุดควบแน่น ซึ่งมีค่าเดียวกันกับจุดเดือดของของเหลวนั้น
เมื่อของเหลวสูญเสียความร้อน อนุภาคของของเหลวจะมีพลังงาน
ลดลงและเคลื่อนที่ช้าลง อนุภาคของของเหลวจะเคลื่อนที่เข้าใกล้กันมาก
ขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของเหลวจะเพิ่มขึ้น เมื่ออนุภาค
ของของเหลวมีพลังงานลดลงจนถึงระดับหนึ่งจะมีอุณหภูมิคงที่ ขณะที่
อุณหภูมิคงที่นี้ ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกอุณหภูมิที่
ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่งมีค่าเดียวกันกับ
จุดหลอมเหลวของของแข็งนั้น
๒. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เทอร์มอมิเตอร์
วัดอุณหภูมิของสสารที่เวลาต่าง ๆ อ่านค่าอุณหภูมิ
พร้อมระบุหน่วยของอุณหภูมิได้อย่างถูกต้อง
๓. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย
ข้อมูล จากการนำ�ผลการวัดอุณหภูมิของสสารที่
เวลาต่าง ๆ มาเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง
อุณหภูมิกับเวลาและนำ�เสนอแบบจำ�ลองที่สืบค้น
เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อน
กับการเปลี่ยนสถานะของสสาร ได้อย่างถูกต้อง และ
ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลได้อย่าง
รวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง
๔. ประเมินทักษะการลงความเห็น จากการนำ�ข้อมูล
จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ที่เวลาต่าง ๆ และการเปลี่ยนสถานะของสสาร
มาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อน
กับการเปลี่ยนสถานะของสสารได้อย่างสมเหตุสมผล
๕. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อ
สรุป จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากกราฟความ
สัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา และลงข้อสรุป
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อน
กับการเปลี่ยนสถานะของสสารได้อย่างถูกต้อง
๖. ประเมินทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง จากการสร้าง
และใช้แบบจำ�ลองที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อนกับ
การเปลี่ยนสถานะของสสารได้ถูกต้อง รวมทั้งเปรียบ
เทียบแบบจำ�ลองกับของจริงหรือปรากฏการณ์จริง
ได้อย่างถูกต้อง
๓. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย
ข้อมูล โดยนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมา
เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ
กับเวลา และนำ�เสนอแบบจำ�ลองที่สืบค้น
เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงาน
ความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร
๔. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย
นำ�ข้อมูลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลง
อุณหภูมิของสสารที่เวลาต่าง ๆ และ
การเปลี่ยนสถานะของสสาร มาอธิบาย
ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อนกับ
การเปลี่ยนสถานะของสสาร
๕. ทั ก ษ ะ ก า ร ตี ค ว า ม ห ม า ย ข้ อ มู ล แ ล ะ
ลงข้อสรุป โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก
กราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับ
เวลา เพื่อลงข้อสรุปความสัมพันธ์ระหว่าง
พลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะ
ของสสาร
๖. ทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง โดยสร้างและใช้
แบบจำ�ลองเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง
พลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะ
ของสสาร
117
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑