Table of Contents Table of Contents
Previous Page  242 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 242 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๒๖. แปลความหมายข้อมูลและอธิบายการเปลี่ยนพลังงานระหว่างพลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ของวัตถุโดยพลังงานกลของวัตถุมีค่าคงตัวจากข้อมูลที่รวบรวมได้

ด้านความรู้

๑. พลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ของ

วัตถุหนึ่งๆ สามารถเปลี่ยนกลับไปมาระหว่าง

กันได้

๒. ผลรวมของพลังงานศักย์โน้มถ่วงและ

พลังงานจลน์เป็นพลังงานกลโดยพลังงานกล

ของวัตถุในแต่ละตำ�แหน่งมีค่าคงตัว

หมายเหตุ :

ไม่รวมการคำ�นวณพลังงานศักย์โน้มถ่วงและ

พลังงานจลน์โดยใช้สมการ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตอัตราเร็วในการ

หมุนของกังหันเมื่อเทน้ำ�ให้ตกลงมาจาก

ระดับความสูงต่าง ๆ และระดับความสูงที่

วัตถุขึ้นไปได้เมื่อโยนวัตถุขึ้นไปในแนวดิ่ง

ด้วยอัตราเร็วต่าง ๆ

๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย

ก า ร ใ ช้ ป ร ะ ส บ ก า รณ์ เ ดิ ม ม า อ ธิ บ า ย

พลังงานศักย์โน้มถ่วง และพลังงานจลน์

ในวัตถุ

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการเปลี่ยน

พลังงานระหว่างพลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ของวัตถุ จากการ

ซักถามหรือจากสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพเคลื่อนไหว หรือวีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่

การปฏิบัติกิจกรรมการเปลี่ยนพลังงานระหว่างพลังงานศักย์โน้มถ่วงและ

พลังงานจลน์ของวัตถุ

๒. นัก เ รียนปฏิบัติกิจกรรม เ กี่ยวกับการ เปลี่ยนพลัง ง านระหว่า ง

พลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ เช่น การเทน้ำ�ให้ตกจากที่สูงมา

กระทบกังหันเพื่อทำ�ให้กังหันหมุน หรือ การโยนวัตถุขึ้นในแนวดิ่งด้วย

อัตราเร็วเริ่มต้นต่างกัน สังเกตและบันทึกผลความสูงที่วัตถุเคลื่อนที่

ขึ้นไปได้ นำ�เสนอ

๔. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อนำ�ไปสู่การลงข้อสรุปว่าพลังงานศักย์

โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ของวัตถุหนึ่ง ๆ สามารถเปลี่ยนกลับไป

มาระหว่างกันได้ โดยวัตถุที่อยู่ในระดับความสูงมาก จะมีพลังงาน

ศักย์โน้มถ่วงมาก และสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ได้มาก ในทาง

กลับกัน วัตถุที่มีพลังงานจลน์มาก เมื่อเคลื่อนที่ขึ้นไปในแนวดิ่ง ก็จะขึ้น

ไปได้สูงมาก นั่นคือพลังงานจลน์ของวัตถุเปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์โน้มถ่วง

ของวัตถุได้มากด้วย

๕. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าผลรวมของพลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์

ของวัตถุในแต่ละตำ�แหน่งเรียกว่า พลังงานกล

ด้านความรู้

๑. อธิบายความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนพลังงานระหว่าง

พลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ของวัตถุ

๒. อธิบายผลรวมของพลังงานศักย์โน้มถ่วงและ

พลังงานจลน์ซึ่งเป็นพลังงานกล โดยพลังงานกลของ

วัตถุในแต่ละตำ�แหน่งมีค่าคงตัว

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการบันทึกรายละเอียด

อัตราเร็วในการหมุนของกังหัน เมื่อเทน้ำ�จากระดับ

ความสูงต่าง ๆ และระดับความสูงของวัตถุเมื่อโยน

วัตถุขึ้นไปแนวดิ่งด้วยอัตราเร็วต่าง ๆ ได้ครบถ้วน

ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จากการ

ใช้ประสบการณ์เดิมมาอธิบายพลังงานศักย์โน้มถ่วง

และพลังงานจลน์ในวัตถุได้สมเหตุสมผล

232