การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
๑. เชื้อเพลิงซากดึกดำ�บรรพ์ เกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงสภาพของซากสิ่งมีชีวิตในอดีต
โดยกระบวนการทางเคมีและธรณีวิทยา
เชื้อเพลิงซากดึกดำ�บรรพ์ แบ่งเป็น ๓
ประเภท ได้แก่ ปิโตรเลียม หินน้ำ�มัน และ
ถ่านหิน ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภท
ที่ใช้แล้วหมดไป
๒. เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์ แต่ละประเภทเกิด
จากวัตถุต้นกําเนิดในสภาวะของอุณหภูมิ
และความดันต่างกัน ทําให้มีลักษณะ สมบัติ
และการนําไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน
สำ�หรับปิโตรเลียมจะต้องผ่านการกลั่น
ลำ�ดับส่วน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อ
การใช้ประโยชน์
ด้านความรู้
๑. เปรียบเทียบกระบวนการเกิด สมบัติ และการใช้
ประโยชน์ของเชื้อเพลิงซากดึกดำ�บรรพ์แต่ละประเภท
๒. อธิบายผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำ�บรรพ์
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับเชื้อเพลิง
ซากดึกดำ�บรรพ์ โดยอาจใช้สถานการณ์หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่าง ๆ เช่น
วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำ�ไปสู่การสังเกตเกี่ยวกับลักษณะของ
เชื้อเพลิงซากดึกดำ�บรรพ์
๒. ครูให้นักเรียนสังเกตเปรียบเทียบลักษณะของเชื้อเพลิงซากดึกดำ�บรรพ์
แต่ละประเภท ได้แก่ ปิโตรเลียม หินน้ำ�มัน และถ่านหิน
๓. ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการเกิด สมบัติ
และประโยชน์ของปิโตรเลียม หินน้ำ�มัน และถ่านหิน จากอินเทอร์เน็ต
และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่น่าเชื่อถือ จัดกระทำ�ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและ
นำ�เสนอผลการสืบค้น
๔. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเปรียบเทียบกระบวนการเกิด สมบัติ และ
ประโยชน์ของเชื้อเพลิงซากดึกดำ�บรรพ์แต่ละประเภท เพื่อลงข้อสรุปว่า
เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์ แต่ละประเภทมีกระบวนการเกิดแตกต่างกัน
ทําให้มีสมบัติและนําไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน
236
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
สาระที่ ๓ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ
มาตรฐาน ว ๓.๒ เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกและบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย
กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
๑. เปรียบเทียบกระบวนการเกิด สมบัติและการใช้ประโยชน์ รวมทั้งอธิบายผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำ�บรรพ์จากข้อมูลที่รวบรวมได้
๒. แสดงความตระหนักถึงผลจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำ�บรรพ์โดยนำ�เสนอแนวทางการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำ�บรรพ์